ต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับการปลูกพืชอาหารปลอดภัยในชุมชน ด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี

Main Article Content

นันทิยา ตันติดลธเนศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับการปลูกพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี 2) เพื่อประเมินความสอดคล้องการทำงานของต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับการปลูกพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับการปลูกพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี 2) แบบประเมินความสอดคล้องการทำงานของต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับการปลูกพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP)


ผลการวิจัยพบว่า    :


1) ต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับการปลูกพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ประกอบด้วยการทำงาน 3 ส่วนหลัก ดังนี้ ส่วนที่ 1 สำหรับผู้ดูแลระบบซึ่งสามารถสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลแปลงปลูกพืช ข้อมูลพืชผัก ข้อมูลสารเคมี ข้อมูลแผนงานการปลูกพืช ข้อมูลกิจกรรมของเกษตรกร ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลผู้ดูแลระบบ   และข้อมูลพื้นฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 สำหรับเกษตรกรซึ่งสามารถบันทึก ลบ แก้ไขข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลแปลงปลูกพืช ข้อมูลพืชผัก ข้อมูลกิจกรรมของเกษตรกร และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร ส่วนที่ 3 สำหรับลูกค้าหรือผู้บริโภคซึ่งสามารถเข้ามาตรวจสอบย้อนกลับกระบวนการปลูกพืชอาหารปลอดภัยของชุมชนก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยของชุมชนโดยใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี


2) ผลการประเมินความสอดคล้องการทำงานของต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับการปลูกพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) พบว่า องค์ประกอบของต้นแบบตรวจสอบย้อนกลับการปลูกพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีจากการสำรวจจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ โดยที่ แหล่งน้ำ เป็นองค์ประกอบที่มีน้ำหนักมากที่สุด เท่ากับ 0.81 รองลงมา คือ การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในแปลงเพาะปลูก เท่ากับ 0.72 สุขลักษณะส่วนบุคคล เท่ากับ 0.66 พื้นที่ปลูก เท่ากับ 0.61 การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เท่ากับ 0.54 การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช เท่ากับ 0.52 การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผล เท่ากับ 0.43 การบันทึกข้อมูล เท่ากับ 0.37 และการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร เท่ากับ 0.36 ตามลำดับ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับการปลูกพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีที่พัฒนาขึ้น สามารถมีความสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) และสามารถนำไปใช้งานได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานและผู้บริโภคที่ต้องการตรวจสอบย้อนกลับความปลอดภัยพืชผักที่ผลิตในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ตันติดลธเนศ น. (2020). ต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับการปลูกพืชอาหารปลอดภัยในชุมชน ด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 6(1), 83–98. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/240389
บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมชนม์ ไวศยดำรง. (2549). TheGlobal Traceability Standard. วารสาร ASIA PACIFIC FOOD INDUSTRY
THAILAND, 3, 42-45.
ชิดชนก ศาสตรานนท์. (2550). แผนกลยุทธ์เพื่อสร้างระบบตรวจสอบย้อนกลับสำหรับสินค้ากลุ่มผักและผลไม้. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์.
ชุติมา พลายด้วง. (2556). การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับในห่วงโซ่อุปทานผักปลอดภัย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มาดีนา น้อยทับทิม และ กนกวรรณ สุขขจรวงษ์. (2556 ). การประยุกต์ใช้ระบบการตรวจสอบย้อนกลบั (Traceability) ในอุตสาหกรรมอาหาร, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.
นงคราญ มหาวัง, จงกลบดินทร แสงอาสภวิริยะ, ชัยยศ สัมฤทธิสกุล และ มาณวิน สงเคราะห์. (2559). การออกแบบระบบสอบย้อนกลับในโซ่อุปทานผักเชียงดาเพื่อการพาณิชย์. การประชุมวิชาการสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
วรชัย ศรีสมุดคำ , ณัฐพล ภู่ระหงษ์ และ พีรภัทร อิ่มทรัพย์. (2561). การสืบค้นย้อนกลับผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพแบบสุญญากาศของเกษตรกร จังหวัดเพชรบูรณ์. ใน วารสารราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3, มหาวิทยาลัยราชธานี, อุบลราชธานี.
วิทธวัช ราชรองวัง. 2560. ระบบตรวจสอบย้อนกลับโซ่อุปทานของนมพาสเจรอร์ไรส์เสริมฟลูออไรด์ กรณีศึกษา สหกรณ์โคนมพัทลุง จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2556). มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.9000 เล่ม 1-2552 เกษตรอินทรีย์ เล่ม1 การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจําหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
อนุชา ชีช้าง และธีรวัฒน์หังสพฤกษ์. (2555). การพัฒนาระบบการจัดการครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ด้วยรหัสแท่ง สองมิติบนเครือข่ายอินทราเน็ต กรณีศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง, วารสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ, 15 (2), 1-9.
อนุวัฒน์ ใจดี และ พุธษดี ศิริแสงตระกูล. 2557. ระบบติดตามและตรวจสอบย้อนกลับก้อนเชื้อเห็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Best, John W. 1977. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc.
Srimook, S. (2013). Impact from using chemical in agriculture of. Bangkok: The Secretariat of the House of Representatives.