The Development of RMU-M-Commerce system On the Android operating system

Main Article Content

weerapon panurag

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน 2) เพื่อพัฒนาระบบ RMU-M-Commerce บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 3) เพื่อประเมินคุณภาพระบบ RMU-M-Commerce บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4) เพื่อศึกษาการยอมรับและการนำไปใช้เทคโนโลยีของชุมชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตชุมชนตำบลแก่งเลิงจาน  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 99 คน กำหนดจำนวนด้วย ตารางทาโร่ยามาเน่ ที่ค่าผิดพลาด ± 10 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความต้องการ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ แบบประเมินคุณภาพระบบเอ็มคอมเมิร์ชผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และแบบสอบถามการยอมรับการใช้เทคโนโลยี  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ย   และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยมีดังนี้   


            ผลการศึกษาความต้องการ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน พบว่า ชุมชนมีความต้องการ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยระบบ RMU-M-Commerce บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
(=4.69,S.D.=0.52)  ผลการพัฒนาระบบ RMU-M-Commerce บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สามารถใช้งานได้ตามขอบเขตของระบบงานครบทุก Module ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนที่เป็นหน้าหลักซึ่งเป็นส่วนแสดงสินค้าทั้งหมด ส่วนค้นหาสินค้าได้ตามต้องการ ส่วนเลือกสินค้าเข้าระบบตะกร้าสินค้า ส่วนทำรายการสั่งซื้อและชำระเงิน ผลการประเมินคุณภาพของระบบ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.56, S.D. = 0.47) ผลการศึกษาความคิดเห็นด้านการยอมรับเทคโนโลยี พบว่า ชุมชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นด้านการยอมรับเทคโนโลยีโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.63,SD.=0.59)

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธงชัย บรรจมาตย์. (2560). ระบบสั่งจองอาหารร้านกินดีสุกี้ผ่านแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ
แอนดรอยด์. ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
พักตร์สร สมภา. (2554). ระบบศูนย์ขายสินค้าโอทอป ออนไลน์. ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
นพดล พงศ์ภัณฑารักษ์ (2551). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เทคโนโลยี M-Commerce กรณีศึกษา. บริษัท มันนี่จีอี
ประเทศไทย จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. งานวิจัยค้นคว้าอิสระหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วีระพน ภานุรักษ์. (2558). รูปแบบการเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (คอมพิวเตอร์ศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.
ศจี สุวรรณกาศ. (2548). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความต้องการใช้บริการ Mobile payment กรณีศึกษาบริการ
mPAY ของ บริษัท แอดวานส์ เอ็มเปย์ จำกัด. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยหาการค้าไทย.
สุดทีวัล สุขใส และณัฐชญา อัครยรรยง. (2555). ผลวิจัยระบุคนเอเชียเห่อสมาร์ทโฟน.[ข้อมูล
ออนไลน์] สืบค้น วันที่ 23 มกราคม 2555 จาก http://www.ryt9.com/s/iqry/1319596
สุกัญญา สุดดี. (2555). แอพพลิเคชั่นชำระเงินค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ,
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Stair, R.N. (1996). Principle of Information System A Managerial Approach. (2nd ed.).
Massachusetts : Boys – Fraser.