ระบบไอโอทีสำหรับการตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือนให้มีผลผลิตที่สมบูรณ์

Main Article Content

thatach areerard

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของระบบไอโอทีสำหรับการตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือนให้มีผลผลิตที่สมบูรณ์ 2) พัฒนาระบบไอโอทีสำหรับการตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือนให้มีผลผลิตที่สมบูรณ์และ 3) ถ่ายทอดระบบไอโอทีสำหรับการตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือนให้มีผลผลิตที่สมบูรณ์  สู่ชุมชนต้นแบบ  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนบ้านดงน้อย ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1 โรงเรือน ซึ่งเป็นโรงเรือนของชุมชน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบของระบบไอโอทีสำหรับการตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือน 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบไอโอทีสำหรับการตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือน 3) แบบประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานเพาะเห็ดในโรงเรือนของชุมชน และ 4) แบบสำรวจความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อระบบไอโอทีสำหรับการตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า  1) องค์ประกอบของระบบไอโอทีสำหรับการตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือน ได้แก่ 1.1) ระบบควบคุม 1.2) ระบบการจ่ายน้ำภายในโรงเรือน 1.3) ระบบการกระจายความร้อนในโรงเรือน 1.4) ระบบดูดอากาศออกจากโรงเรือน และ 1.5) ระบบการสร้างความร้อนในโรงเรือน  โดยองค์ประกอบของระบบไอโอที มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระบบควบคุมสามารถสั่งการให้ทุกระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเงื่อนไข และสถานการณ์ที่ตั้งไว้ โดยประสิทธิภาพของระบบไอโอทีที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  และ 3) ประสิทธิผลมากกว่าการดำเนินการโดยวิถีปฏิบัติของชุมชนที่ผ่านมา  ทั้งนี้เนื่องมาจากระบบไอโอทีที่พัฒนามีการควบคุมความชื้น และอุณหภูมิในโรงเรือน ที่เหมาะสมต่อการผลิตดอกเห็ด  ดังนั้น จึงส่งผลต่ออัตราก้อนเชื้อเห็ดเสียหายจากเชื้อราดำ ซึ่งมีอัตราส่วนที่เป็นเชื้อราน้อย  นอกจากนี้ส่งผลต่อผลผลิตที่สามารถจัดเก็บได้ระยะเวลายาวนานขึ้น และผลผลิตมีน้ำหนักดี ดอกอวบ และอิ่มน้ำ และมีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ทำให้แต่ละรอบของการจัดเก็บได้จำนวนที่มาก ในขณะเดียวกันผลจากการใช้ระบบ สามารถดำเนินการได้ตลอดทั้งปี เพราะมีระบบการสร้างความร้อนในโรงเรือน และควบคุมความชื้นที่เหมาะสมภายในโรงเรือน โดยชุมชนมีความพึงพอใจต่อระบบไอโอที โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] บุญยัง สิงห์เจริญ และ สันติ สาแก้ว. (2559). ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนเพาะเห็ด. การประชุมวิชาการ
ระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1 (The 1st RUSNC) วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2559
ณ ห้องประชุมหันตรา ชั้น 10 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
หน้า 176-183.
[2] ถาวร วินิจสานันท์ และคณะ. (2553). รายงานฉบับสมบรูณ์โครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเห็ด
และพืชสมุนไพรทางเศรษฐกิจ. กาญจนบุรี : มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี.
[3] ลิขิต อ่านคาเพชร และธงรบ อักษร. (2560). โรงเพาะเห็ดนางฟ้าอัจฉริยะ. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ
ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2. วันพุธที่ 26 - พฤหัสบดี 27 กรกฎาคม 2560. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชธานี. หน้า 364-374.
[4] ประสิทธิ์ กาบจันทร์. (2558). รายงานผลการดำเนินงานโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตพืชผักระบบ
เกษตรอินทรีย์.เชียงใหม่ : คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริม
วิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
[5] บรรณ บูรณะชนบท. (2532). การเพาะเห็ดนางรม-นางฟ้า. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม.
[6] วาริธี ธรรมชาติไพศาล. (2554). คู่มือการเพาะเห็ด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตร.
[7] Shashwathi, N., Priyam B., & Suhas, K. (2012). Smart farming: A step towards techno savvy agriculture.
International Journal of Computer Applications, 57(18), 45-48.
[8] เบญจพล เรืองศักดิ์ และ ณฐวุฒิ ขันมัง. (2559). ระบบควบคุมอุณหภูมิความชื้นสำหรับใช้ในโรงเพาะเห็ด. [ออนไลน์]
เข้าถึงได้จาก http://eng.kps.ku.ac.th/dblibv2/fileupload/project_IdDoc305_IdPro734.pdf [1/12/2562]
[9] เสกสรร ศิวิลัย. (2016). Internet of Things เมื่อสรรพสิ่งล้วนเชื่อมต่อ (อินเทอร์เน็ต). พิษณุโลก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
[10] ศุภวุฒิ ผากา สันติ วงศ์ใหญ่ และอดิศร ถมยา. (2557). การพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมต่อ
การเจริญเติบโตของเห็ดในโรงเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการ
คณะเทคโนโลยี อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม 2557 – มิถุนายน 2557.
หน้า 58-69.
[11] วีรศักดิ์ ฟองเงิน สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ และ รัฐสิทธิ์ ยะจ่อ. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีควบคุมฟาร์มอัจฉริยะ
ในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 1
มกราคม – มิถุนายน 2561. มหาสารคาม : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. หน้า 172-182.
[12] ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[13] ปัทมนันท์ อิสรานนทกุล และชำนาญ รักพงษ์. (2562). ระบบควบคุมการให้น้ำเห็ดนางฟ้าภูฐานแบบพ่นหมอกด้วย
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. JIST Journal of Information Science and Technology Volume 9,
NO 1 JAN – JUN 2019. pp 1-8.
[14] สุวลี ชูวาณิชย และเกริกชัย ทองหนู. (2562). การประยุกต์ใช้ไอโอทีสำหรับระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือน
เพาะเห็ดแครง.ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 4
“วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อบูรณาการท้องถิ่นอย่างยั่งยืน”วันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์ 2562. คณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. หน้า 493-494.