การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นบริการถ่ายสำเนาเอกสารทางวิชาการ ร่วมกับการแจ้งเตือนผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์: กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Main Article Content

อิมรอน แวมง

บทคัดย่อ

                   งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นบริการถ่ายสำเนาเอกสารทางวิชาการร่วมกับการแจ้งเตือนผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์: กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของเว็บแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อเว็บแอพพลิเคชั่นพัฒนาขึ้น โดยพัฒนาระบบในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) พัฒนาระบบและออกแบบระบบตามวัฏจักรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle : SDLC)  ใช้ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) และภาษาพีเอชพี (PHP) จัดการฐานข้อมูลด้วยมายเอสคิวแอล (MySQL) และการแจ้งเตือนผ่านไลน์ด้วย Line API การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) จำนวน 5 ท่าน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการถ่ายสำเนาเอกสารทางวิชาการ และผู้ใช้บริการ จำนวน 25 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปลายเปิดเพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความเป็นไปได้ในการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น, แบบประเมินประสิทธิภาพของเว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเว็บแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) เว็บแอพพลิเคชั่นบริการถ่ายสำเนาเอกสารทางวิชาการร่วมกับการแจ้งเตือนผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์: กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา การทำงานของระบบแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ตามกลุ่มผู้ใช้ ได้แก่ 1. ผู้ดูแลระบบ 2. คณาจารย์  3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ  4. ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี และ 5. เจ้าหน้าที่ถ่ายสำเนาเอกสาร เป็นระบบที่สามารถทำงานได้ในทุกแพลตฟอร์มและไม่จำกัดอุปกรณ์ อำนวยสะดวกให้กับคณาจารย์สามารถใช้บริการถ่ายสำเนาได้จากทุกที่ ทุกเวลา และสามารถติดตามเอกสารผ่านระบบได้ตลอดเวลา  2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของเว็บแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.37, S.D.=0.51) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเว็บแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.19, S.D.=0.39)

Article Details

How to Cite
แวมง อ. (2020). การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นบริการถ่ายสำเนาเอกสารทางวิชาการ ร่วมกับการแจ้งเตือนผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์: กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 6(2), 61–71. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/241774
บท
บทความวิจัย

References

[1] คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. (2563). หลักสูตรที่เปิดสอน. สืบค้น 3 มกราคม 2563, จากhttps://science.yru.ac.th/
[2] ธาริณี นาคเมธี. (2557). พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากรในหน่วยงานราชการ เขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกผ่านการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE). การ
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[3] บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
[4] โปรซอฟท์ เอชซีเอ็ม. (2563). เทคโนโลยีกับการเรียนรู้. สืบค้น 3 มกราคม 2563, จากhttps://www.prosofthcm.com/ Article/Detail/16798
[5] พงศ์กร จันทราช. (2559). การพัฒนาระบบรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่. วารสารปัญญาภิ
วัฒน์, 8(2), 205-214.
[6] พรรณี แพงทิพย์, และสิทธิกร สุมาลี. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 14(26), 39-50
[7] วิโรจน์ ชัยมูล, และสุพรรษา ยวงทอง (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: โปรวิชั่น
[8] วุฒิพงษ์ ชินศรี, และศิริวรรณ วาสุกรี. (2558). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบปรนัย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,
10(1), 1-17.
[9] วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัย, และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การนำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพการบริการของที่พักอาศัย:คอนโดมิเนียม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 341-355. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/54152
[10] สมิธ พิทูรพงศ์ (2561). การใช้แอปพลิเคชันไลน์ในกระบวนการทำงาน กรณีศึกษา บริษัท สหผลิตภัณฑ์พาณิชย์ จำกัด. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้ง
ที่ 1 “GRADUATE SCHOOL MINI-CONFERENCE 2018”. (น. 1090-1099). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
[11] อารีรัตน์ มีเย็น, เจษฎา แก้ววิทย์, คัดเค้า สันธนะสุข, และประยง มหากิตติคุณ. (2561). การพัฒนาระบบการจัดการเอกสารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
หอการค้าไทย. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTTC Academic Day ครั้งที่ 2. (น. 1904-1918). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
[12] LINE Notify. (2563). LINE Notify. สืบค้น 3 มกราคม 2563, จาก https://notify-bot.line.me/th
[13] LINE Corporation. (2563). บริการ LINE. สืบค้น 3 มกราคม 2563, จาก https://linecorp.com/th/business/service