การพัฒนาแอปพลิเคชันตลาดแรงงานท้องถิ่นตามมาตรฐานชุด ISO 9241-151

Main Article Content

Thanin Muangpool

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันตลาดแรงงานท้องถิ่นตามมาตรฐานชุด ISO 9241-151 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย คือ กลุ่มผู้ว่าจ้างและผู้ใช้แรงงานในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แอปพลิเคชันตลาดแรงงานท้องถิ่นตามมาตรฐานชุด ISO 9241-151 แบบทดสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) แอปพลิเคชันตลาดแรงงานท้องถิ่นที่พัฒนาตามมาตรฐานชุด ISO 9241-151 ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนนำข้อมูลแรงงานชุมชนเข้าระบบเพื่อจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้านอาชีพ การบริการในชุมชน โดยผู้นำชุมชน และ (2) ส่วนของผู้ว่าจ้างจะใช้แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลแรงงาน ผู้ใช้เพียงระบุความต้องการในการจ้างงาน เช่น ระบุความต้องการจ้างงาน เงื่อนไขในการจ้างงาน เป็นต้น ระบบจะแสดงข้อมูลของผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้รับจ้างตามความสามารถของผู้ลงทะเบียน 2) การทดสอบประสิทธิภาพของแอฟพลิเคชันของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( = 4.22, SD = 0.62) และ 3) การประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.47, S.D. = 0.64)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] เน็ตประชารัฐ. (2561). “ไทยแลนด์ 4.0” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. Retrieved from http://netpracharat.com/
[2] ศศิพันธ์ นิตยะประภา. (2558). การใช้งานได้ของเว็บไซต์: Web Usability. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Journal), 11(2), 70-87.
[3] สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561). แรงงาน. Retrieved from http://www.royin.go.th/ ?knowledges=%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99
[4] ยุทธพงศ์ ญาณโยธิน และชวาล อินทุสมิต. (2558). การออกแบบอินเตอร์เฟสเว็บไซต์ คณะสถาบัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. รายงานการวิจัยทุนสนับสนุนการวิจัยมหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์ ปีงบประมาณ 2558, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
[5] นงเยาว์ สอนจะโปะ และปฐม พุ่มพวง. (2562). การออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการกิจกรรมทางวิชาการแบบออนไลน์ โดยใช้หลักการ Human-Computer Interaction และ Automatic Expert Assignment. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 15(3), 118-131.
[6] Salmana, Cheng, and Patterson. (2012). Icon and user interface design for emergency medical information systems: A case study. International Journal of Medical Informatics 81: 29-35.
[7] สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ วีรศักดิ์ ฟองเงิน และเนตรดาว โทธรัต์. (2562). การพัฒนาชุมชนโอทอปนวัตวิถีและส่งเสิรมการท่องเที่ยวด้วยระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ จังหวัดลำปาง. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(1), 65-74.
[8] Srinivas Nidhra. (2012). Black Box and White Box Testing Techniques - A Literature Review. International Journal of Embedded Systems and Applications 2. 2012(2), 29–50.
[9] จักรี ทำมาน และมานิตย์ อาษานอก. (2561). ผลการศึกษาองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 122-132.
[10] ธนกฤต แก้วกนก ปวีณา ประกอบพันธ์ สมคิด สุทธิธารธวัช และเปมิกา ขำวีระ. (2563). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันยีสต์พื้นที่ บริเวณพื้นที่ป่าเขาพลวง วิทยาลัยชัยบาดาลพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1), 110-119.