การพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจในการปลูกพืชทางการเกษตร สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

กนิษฐา อินธิชิต
อาทิตยา พิมพรัตน์
ณิชนันทน์ ห่วงทิม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาอุปกรณ์ตรวจสอบดิน  2) พัฒนาแอพพลิเคชันแสดงข้อมูลพืชที่เหมาะสม  3) ประเมินความเหมาะสมของระบบช่วยตัดสินใจในการตัดสินใจในการปลูกพืชทางการเกษตร สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้เชี่ยวชาญ 4) ประเมินความพึงพอใจของระบบช่วยตัดสินใจในการตัดสินใจในการปลูกพืชทางการเกษตร สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้ใช้งานทั่วไป กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และผู้ใช้งานจำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเหมาะสมระบบช่วยตัดสินใจในการตัดสินใจในการปลูกพืชทางการเกษตร สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจระบบตรวจสอบดินและแสดงผลผ่าน แอพพลิเคชันเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการปลูกพืชทางการเกษตร สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้ใช้งานทั่วไป


ผลการศึกษาพบว่า 1) อุปกรณ์สามารถตรวจสอบดินและส่งค่าอุณหภูมิ ค่าความชื้น ค่า pH และค่าความสมบูรณ์ (NPK) ของดิน ไปยังแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) แอพพลิเคชันสามารถแสดงค่าอุณหภูมิ ค่าความชื้น ค่า pH และค่าความสมบูรณ์ (NPK) ของดินที่ทำการตรวจสอบ พร้อมแสดงผลการแนะนำชนิดพืชที่เหมาะสมกับดินที่ทำการตรวจสอบมากที่สุด  1 ชนิด และแสดงรายละเอียดข้อมูลของพืช คำแนะนำวิธีการดูแลพืชซึ่งประกอบไปด้วย (1) ข้อมูลวิธีการเตรียมดิน (2) ข้อมูลวิธีการดูแลพืช (3) ข้อมูลวิธีการใส่ปุ๋ย 3) ผลการประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าอุปกรณ์ตรวจสอบดินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.95 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.565) และแอพพลิเคชันมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61) และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจ โดยผู้ใช้งานอยู่ในระดับดี  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สมชาย บุญประดับ จันทนา ใจจิตร ชวนชื่น เดี่ยววิไล วันชัย ถนอมทรัพย์ วิไลวรรณ พรหมค้า และสมเจตน์ ประทุมมินทร์. (2558). วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืน. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ.
[2] กรมพัฒนาที่ดิน. (2562). ข้อมูลการจัดการดิน. กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน. สืบค้นจาก http://www.ldd.go.th/Web_Soil/Page_02.htm
[3] คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา. (2560). พืชเศรษฐกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.
[4] ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา. (2545). ภาวะมลพิษของดินจากการใช้สารเคมี. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.
[5] อารดา เจาะจง. (2559). ดินในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://elearning.nsru.ac.th/web_elear
[6] สุวิทย์ ภูมิฤทธิกุล และคณะ. (2559). Internet of Thing เพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยต่อสุขภาพของมนุษย์ และการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้โปรแกรม Hadoop”, วารสารวิชาการปทุมวัน, 6(15), 61-72.
[7] จักรชัย โสอินทร์ พงษ์ศธร จันทร์ยอย และณัฐณิชา วีระมงคลเลิศ. (2555) . Android App Development. นนทบุรี:บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.
[8] ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์พริ้นทร์,
[9] กฤษฎี วิทิตศานต์. (2560). การพัฒนาต้นแบบโครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับการทำเกษตรแม่นยำในโรงเรือนเพาะปลูก. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/1234567
[10] ธนกฤต โพธิ์ขี. (2560). การพัฒนาแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ “Taladnut Night Market”. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ: กรุงเทพฯ.
[11] ณัฐชัย กัดไธสง และณัฐพงศ์ พลสยม. (2561). การควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการ สื่อสารไร้สาย. โครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ: มหาสารคาม.
[12] วรปภา อารีราษฎร์, ธรัช อารีราษฎร์ และพลวัฒน์ อัฐนาค. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรม การประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้. Journal of Information Technology Management and Innovation: มหาสารคาม.