การพัฒนาสื่อดิจิทัลสำหรับให้ความรู้มารดาหลังคลอดในโรงพยาบาล

Main Article Content

พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลสำหรับดูแลมารดาหลังคลอด และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับดูแลมารดาหลังคลอด การดำเนินวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1  การพัฒนาสื่อดิจิทัลสำหรับดูแลมารดาหลังคลอด ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับดูแลมารดาหลังคลอด ประชากรในการศึกษาครั้ง คือ มารดาที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ในระหว่างเดือนมิถุนายน 2562 ถึง เดือนกรกฎาคม 2562  กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ มารดาหลังคลอด กลุ่ม Day2 ณ โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ในระหว่างเดือนมิถุนายน 2562 – กรกฎาคม 2562 จำนวน 100 คน ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อดิจิทัลในรูปแบบอินโฟกราฟิก 2) แบบประเมินความความเหมาะสมของสื่อดิจิทัลในรูปแบบอินโฟกราฟิก 3) แบบประเมินการรับรู้ของมารดาหลังคลอด


ผลการวิจัยพบว่า


1.การพัฒนาสื่อดิจิทัลสำหรับดูแลมารดาหลังคลอด พบว่าได้สื่อดิจิทัลในรูปแบบอินโฟกราฟิกการสอนมารดาหลังคลอด จำนวน 4 ตอน ดังนี้ 1) การดูแลตนเองภายหลังคลอดเมื่อกลับบ้าน 2) การดูแลทารกแรกเกิดที่บ้าน 3) ทารกแรกเกิดมีภาวะตัวเหลือง 4) ภาวะตกเลือดหลังคลอด และมีผลการประเมินคุณภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 


  1. ผลการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับดูแลมารดาหลังคลอด พบว่า มารดาหลังคลอดมีผลการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] อรัญญา ทองก้อน และคณะ. (2556). ความรู้และพฤติกรรมการดูแลบุตรของมารดาหลังคลอดวัยรุ่น หอผู้ป่วยสูติกรรมสามัญโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 9, (หน้า 548-556).
[2] ภานนท์ คุ้มสุภา. (2558). อินโฟกราฟิกเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในยุคการตลาดเชิงเนื้อหา. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2558), (หน้า 155-172).
[3] Milovanovic Dragana and Lvanisevic Leo .(June, 2014). Infographic as a Marketing Communication Tool. Paper presented at SYMORG 2014, Serbia. Retrieved from http://symorg.fon.bg.ac.rs/proceedings/papers/04% 20%20COMMUNICATION%20MANAGEMENT%20AND%20SOCIAL%20NETWORKING%20.pdf#page=23.
[4] J.Chongpornchai et al. Inforgraphic and its applications in health and pharmacy, Thai Bull Pharm Sci 2016;11(2): 98-120.
[5] สมทรง บุตรตะ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์ เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่โรงพยาบาลมหาสารคาม เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560.
[6] จงกลณี จงพรชัย, กฤตติกา ตัญญะแสนสุข และลาวัลย์ ศรัทธาพุทธ. (2016) อินโฟกราฟิกและการประยุกต์ในงานสุขภาพและเภสัชกรรม. Thai Bulletin of Pharmaceutical Science (TBPS),11,98-120.
[7] วรรณทิภา ธรรมโชติ. (2562). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2562 ,(หน้า 37-47).
[8] ธิดาใจ จันทนามศรี. (2560). เนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารผ่านสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อสร้างการรับรู้และจดจำบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของอินโฟกราฟิกไทยแลนด์. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.