ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการขอใบรับรองการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมังคุด

Main Article Content

สุทธิพงษ์ คล่องดี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีการบริโภคและการส่งออกมังคุดเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงมีการสนับสนุนให้เกษตรกรมีกระบวนการผลิตมังคุดที่ปลอดภัยและมีคุณภาพเพื่อการบริโภคและการส่งออก การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการคุณภาพสินค้าเกษตรสำหรับขอใบรับรอง GAP 2) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการขอใบรับรองตามกระบวนการการจัดการคุณภาพ GAP 3) ประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบ โดยมีประชากรที่ศึกษาจำนวน 5 ท่าน ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอใบรับรอง GAP 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการขอใบรับรอง 3 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ในการขอใบรับรอง GAP มีข้อกำหนดในการจัดการคุณภาพสินค้าเกษตร ประกอบด้วย 1) แหล่งน้ำ 2) พื้นที่ปลูก 3) การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร 4) การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในแปลง 5) การบันทึกข้อมูล 6) การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช 7) การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และ 8) การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ผลการประเมินพบว่าด้านเนื้อหามีคะแนนเฉลี่ย 4.78 อยู่ในระดับดีมากที่สุด ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการใช้งานระบบมีคะแนนเฉลี่ย 3.93 อยู่ในระดับดีมาก โดยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการอบรมก่อนการนำไปใช้งาน และควรพัฒนาให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจประเมินการรับรองมาตรฐาน GAP ผ่านระบบได้

Article Details

How to Cite
คล่องดี ส. (2021). ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการขอใบรับรองการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมังคุด . วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 7(1), 18–28. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/242207
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร. สืบค้นจาก: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/1_mangosteen%202561(2).pdf
[2] สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2561). สินค้าส่งออกสำคัญของไทยตามโครงสร้างสินค้าส่งออกโลก. สืบค้นจาก: http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomRecode&ImExType=1&Lang=Th
[3] สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2563). ศักยภาพและอนาคตของมังคุด ราชินีผลไม้ไทย. สืบค้นจาก: http://www.tpso.moc.go.th/th/node/10724
[4] สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2559). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี. สืบค้นจาก: https://alro.go.th/asean_data/ewt_dl_link.php?nid=232
[5] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 – 2564. สืบค้นจาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
[6] สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี. (2556). สถานการณ์การผลิตผลไม้ จังหวัดจันทบุรี. สืบค้นจาก: http://www.chanthaburi.doae.go.th/report2/estimat%20productivity.htm
[7] ชวนพิศ อรุณรังสิกุล, ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล, และรุ่งนภา ก่อประดิษฐ์สกุล. (2551). การศึกษาการมีส่วนร่วมในระบบผลิตผักผลไม้สดเพื่อการรับรองตามมาตรฐาน GLOBALGAP option 2. วารสารวิทยาสารกำแพงแสน. 6(2), 1-14.
[8] บัณฑิต หนองบัว, เอมอร อังสุรัตน์, และปราโมทย์ สฤษดิ์นิรันดร์. (2560). การพัฒนาศักยภาพการผลิตมังคุดเพื่อการส่งออกในโซ่อุปทาน พื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 10(1), 807-821.
[9] ฉัตรมณี เพชรผึ้ง. (2557). ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการประเมินการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับทุเรียนมังคุดและลําไย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพฯ.
[10] คุปต์ โคตรสขึง. (2554). ระบบตรวจรับรองแหล่งผลิตพืช GAP ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, กรุงเทพฯ.
[11] โสภณ ผิวเพชร. (2550). ระบบสารสนเทศเพื่อการออกใบรับรองตามระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP : Good Agricultural Practice). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
[12] อภินันท์ จุ่นกรณ์, ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์, มงคล รอดจันทร์ และธานิล ม่วงพูล. (2563). การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับขนส่งผลิตผลทางการเกษตร สู่ตลาดชุมชนโดยใช้วิธีการเชิงพันธุกรรม. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 6(1), 29-37.
[13] สิทธิศักดิ์ อรรจนานนท์, เพ็ญศรี ปักกะสีนัง, และดาเรศ วีระพันธ์. (2561) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลควบคุมมาตรฐานเกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 4(2), 74-82.