การพัฒนาการแปลงสกุลเงินยูโรเป็นสกุลเงินไทยโดยใช้การประมวลผลภาพ

Main Article Content

วิยดา ยะไวทย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาโปรแกรมประมวลผลภาพโดยแปลงเงินยูโรจากภาพถ่ายมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพัฒนาโปรแกรมเพื่อวัดประสิทธิภาพความแม่นยำและประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานโปรแกรม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาและบุคลากรณ์ที่สนใจการแปลงสกุลเงินยูโร จำนวน 20 คน อุปกรณ์ที่ใช้ คือ 1) โปรแกรมประมวลผลภาพเงินยูโร  2) เงินยูโร  3) โทรศัพท์มือถือที่จะใช้ถ่ายภาพ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ทดสอบของโปรแกรม


ผลการวิจัยพบว่า การตรวจหาธนบัตรใช้วิธีการเรียนรู้แบบโครงข่ายประสาทเทียม โดยแบ่งเรียนรู้ข้อมูลต้นแบบของธนบัตรยูโรจากภาพถ่ายและทดสอบกับธนบัตรยูโรจากภาพถ่ายได้ความถูกต้อง 75.8% และใช้วิธีการแยกประเภทของเหรียญยูโรโดยการแยกตามขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางโดยวัดจากภาพถ่ายได้ค่าถูกต้อง 91.2% และการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายของโปรแกรมประมวลผลภาพโดยการแปลงเงินยูโรจากภาพถ่าย ผลการประเมินอยู่ที่ ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในเกฑ์ ดี โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.1 - 4.2  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.57 – 0.73

Article Details

How to Cite
ยะไวทย์ ว. (2021). การพัฒนาการแปลงสกุลเงินยูโรเป็นสกุลเงินไทยโดยใช้การประมวลผลภาพ. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 7(1), 74–85. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/242680
บท
บทความวิจัย

References

[1] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2562). การประมวลผลภาพ [ออนไลน์].แหล่งที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/การประมวลผลภาพ
[2] Engkarat Techapanurak, 2561. โครงข่ายประสาทเทียม [ออนไลน์].แหล่งที่มา:
https://medium.com/@dopplerz/bayesian-neural-network-ตอนที่-3-อะไรคือ-deep-learning-และอะไรคือ-neural-network-ฉบับมือใหม่-cce9227ab599
[3] H. A. Rowley, S. Baluja and T. Kanade, "Neural network-based face detection," in IEEE Transactions on Pattern Analysis and Machine Intelligence, vol. 20, no. 1, pp. 23-38, Jan. 1998
[4] Rein van den Boomgaard. (2559). Thresholding [ออนไลน์].แหล่งที่มา: https://staff.fnwi.uva.nl/r.vandenboomgaard/IPCV20162017/LectureNotes/IP/PointOperators/Thresholding.html?fbclid=IwAR1MnVQJiJbEwGM7k2IFD5kxuILWOC7aEot6OhvH3k-8-iqT6Sq6XtULPqw
[5] นฤมล ปานล้ำเลิศ. (2549). การพัฒนาแบบระบบแลกธนบัตรโดยใช้ฮิสโตแกรมแบบค่าเฉลี่ย. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์บัญฑิต สาขาวิทายาการคอมพิวเตอร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ บัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2549 [ออนไลน์].แหล่งที่มา
[6] David Young. (2559). The Hough transform [ออนไลน์].แหล่งที่มา:
https://www.mathworks.com/matlabcentral/fileexchange/26978-hough-transform-for-circles?fbclid=IwAR3c-bI1PsoTUPFD1Er-eB4T_8KltOysEzVEsVlUaiZDJY2MfJJpRrO6g6c
[7] จักรี ทำมาน และมานิตย์ อาษานอก. (2561). ผลการศึกษาองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 122-132.