การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและรายงานคาดการณ์ความเสียหายของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่รับน้ำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นที่ประสบอุทักภัยและข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่รับน้ำ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบเฝ้าระวังและคาดการณ์ความเสียหายของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่รับน้ำ 3) เพื่อนำเสนอสารสนเทศในการแนะนำให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่รับน้ำ โดยการนำเอาข้อมูลที่ได้จากการพยากรณ์ปริมาณน้ำมาใช้ในการคาดการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม และผลผลิตทางการเกษตรที่เกิดความเสียหายตามมาหลังจากเกิดสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งการนำเอาข้อมูลพื้นที่เกษตรและพื้นที่การเพาะปลูกของเกษตรกรที่ได้แจ้งการเพาะปลูกประจำรอบการเพาะปลูกประจำปีจากรายงานของสำนักงานเกษตรอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ข้าวและมันเทศ ในรอบการเพาะปลูกเดือนเมษายน-ตุลาคม 2563 ซึ่งในข้อมูลการเพาะปลูกนี้จะรวมถึงตำแหน่งที่ตั้งของแปลงเพาะปลูก ข้อมูลความสูงของพื้นที่ตั้งจากระดับน้ำ แล้วนำข้อมูลปริมาณน้ำหลากจากการพยากรณ์ในโครงการวิจัยการพัฒนาแบบจำลองระบบโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับการคาดการณ์พยากรณ์ปริมาณน้ำหลากมาเป็นเงื่อนไขในการทำรายงานคาดการณ์ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเกษตรกรในเขตพื้นที่รับน้ำในแปลงทดลองเกษตรกรสามารถนำโทรศัพท์สมาร์ทโฟน มาสแกนคิวอาร์โค๊ดเพื่อดูข้อมูลคาดการณ์ความเสียหายในรูปแบบโมบายแอปพลิเคชันได้
ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบฯ ด้วยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่ อบต. ทับน้ำ จำนวน 4 คน และผู้บริหาร จำนาน 1 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ความพึงพอใจการประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test อยู่ในระดับดีมาก รองลงมาเป็นระบบด้าน Usability Test อยู่ในระดับดีมาก ระบบด้าน Functional Test อยู่ในระดับดี และระบบด้าน Security Test อยู่ในระดับดี ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่เกี่ยวกับระบบฯ จากผู้ใช้ระบบ จำนวน 30 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจระบบฯ ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
จาก https://www.nupress.grad.nu.ac.th/behavior
[2] ชมพูนุท สวนกระต่าย. (2014). การบริหารจัดการนวัตกรรม. ROMPHRUEK JOURNAL, 32(1), 129-138.
[3] ณัฐพล เวฬุบรรพ, อภิสิทธิ์ สกุลส่องบุญศิริ และ สุพพัต รุ่งเรืองศิลป์.(2562).ระบบเฝ้าระวังอุทกกภัยผ่านเซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับ ความสูงของน้ำ กรณีศึกษาเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช. การประชุมวิชาการระดับชาติ”สารสนเทศศาสตร์วิชาการ 2019(National Conference on Informatics, NCIs2019)”.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.ไทย.
[4] อำนาจ พรหมสุรินทร์. (2551). การศึกษาแนวคิดและการทดสอบเทคนิคการพยากรณ์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรี
ปทุม.กรุงเทพฯ.
[5] สิทธิชัย ประสานวงศ์. (2559). การสร้างเว็บไซต์ (ด้วย HTML5 & CSS3). กรุงเทพฯ : ซอฟท์เพรส.
[6] ฐาปนี เพ็งสุข. (2561). การสร้างสื่อเส้นทางการท่องเที่ยวรอยพระพุทธบาท โดยใช้ Google Maps API กรณีศึกษา : รอยพระพุทธ
บาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.4(2).52-63.
[7] จุตินันท์ ไวถนอมสัตว์ และ มณเฑียร รัตนศิริวงศ์วุฒิ. (2559). การพัฒนาระบบการวางแผนการขนส่งโดยการประยุกต์ใช้ Google
Map API, การประชุมวิชาการระดับชาติ”ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ” ครั้งที่ 12 (NCCIT2016), ขอนแก่น.ไทย.
[8] มุนินทร์ วรรณธาดา และพรรณี สิทธิเดช. (2554). การพยากรณ์ระดับน้ำด้วยเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมแบบแพร่กลับ กรณีศึกษาเทศบาลเมืองชัยภูมิ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.พิษณุโลก.
[9] ศศิชา มณีฉาย. (2555). เว็บแอพพลิเคชันเพื่อการท่องเที่ยวและเดินทางแสดงตำแหน่งโดยส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ของ แผนที่กูเกิล.(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.กรุงเทพฯ.
[10] ยิ่งเจริญ สนโชติ.(2560). การยอมรับเทคโนโลยีระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการน้ำ กรณีศึกษา สวนปาล์มน้ำมัน
ตำบลบึงชำอ้อ จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
[11] มงคล ลิขิตขจรเกียรติ. (2558). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่รับ
น้ำ ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,กรุงเทพฯ
[12] Boonreang, E., & Harasarn, A. (2021). การพัฒนาศักยภาพในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น. Journal of Politics and Governance, 11(1), 236-253.