การพัฒนาระบบสารสนเทศทวนสอบคุณภาพสินค้าสับปะรดห้วยมุ่น สำหรับส่งเสริมการตลาดภายในประเทศ

Main Article Content

ภานุวัฒน์ ขันจา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศทวนสอบคุณภาพสินค้าสับปะรดห้วยมุ่นสำหรับส่งเสริมการตลาดภายในประเทศ 2) ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทวนสอบคุณภาพสินค้าสับปะรดห้วยมุ่นสำหรับส่งเสริมการตลาดภายในประเทศ


ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ พบว่า สามารถใช้ความรู้ด้านระบบฐานข้อมูล เทคโนโลยีเว็บ ระบบจัดการสารสนเทศ ระบบภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยคิวอาร์โค้ด เพื่อพัฒนาเว็บเป็นศูนย์ข้อมูลทวนสอบคุณภาพสินค้า ซึ่งผลการพัฒนามี 4 ระบบหลัก คือ ระบบจัดการข้อมูลสำหรับผู้ดูแลระบบ ระบบจัดการข้อมูลสำหรับผู้บริหารกลุ่ม ระบบจัดการข้อมูลสำหรับสมาชิกเกษตรกร และระบบสารสนเทศสำหรับบุคคลทั่วไป 2) ผลการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศกับเกษตรกร จำนวน 95 คน พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.71 ระบบมีจุดเด่นด้านการใช้ระบบเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากระบบได้ออกแบบเป็นฐานข้อมูลศูนย์กลางที่สัมพันธ์กับความต้องการของชุมชนเป็นพื้นฐาน จึงเกิดการใช้ระบบที่เป็นรูปธรรม จุดที่ควรพัฒนาคือด้านการนำระบบมาช่วยประกอบการตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่ยังมีข้อมูลไม่ครอบคลุ่มพื้นที่ผลิตทั้งหมด

Article Details

How to Cite
ขันจา ภ. (2022). การพัฒนาระบบสารสนเทศทวนสอบคุณภาพสินค้าสับปะรดห้วยมุ่น สำหรับส่งเสริมการตลาดภายในประเทศ. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 8(1), 7–18. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/245889
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). ข้อมูลด้านการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์. https://www.opsmoac.go.th/ uttaradit-dwl-files-431591791110
[2] สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์. (2563). ข้อมูลการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักจังหวัดอุตรดิตถ์. http://www.uttaradit.doae.go.th/ข้อมูลด้านการเกษตร
[3] สุพัตรา พุฒิเนาวรัตน์. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่. สุราษฏร์ธานี: ฟาสท์ก๊อปปี้.
[4] ดวงกมล นาคะวัจนะ, (2554), QR Code. วารสารประกาย, 8(85), 36.
[5] บัญชา ปะสีละเตสัง. (2558). พัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นด้วย PHP ร่วมกับ MySQL และ jQuery. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
[6] น้ำฝน อัศวเมฆิน. (2560). หลักการพื้นฐานของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ : Fundamentals of Software Engineering. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
[7] สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2560). รัฐบาลหนุนมาตรฐาน ThaiGAP สร้างระบบผลิตผักผลไม้ปลอดภัยครบวงจร. https://www.egov.go.th/th/content/10301/3206/
[8] สิทธิศักดิ์ อรรจนานนท์, เพ็ญศรี ปักกะสีนัง และ ดาเรศ วีระพันธ์. (2562). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลควบคุมมาตรฐานเกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (2018): กรกฎาคม-ธันวาคม pp.74-82
[9] เจษฎา เปาจีน และ รุจโรจน์ แก้วอุไร. (2563) การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ออนไลน์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Information and Learning, Volume 31, Issue 3, 2020, pp.37-46.
[10] Best, John W. (1981). Research in Education. 3rd.ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc.
[11] Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On The Use of Content Specialists In The Assessment of Criterion-referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
[12] Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing (3rd ed.). New York: Harper & Row.
[13] มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (2564). ระบบฐานข้อมูลผลผลิตทางการเกษตร. http://info.uru.ac.th/uttaraditmart/