การพัฒนาแอปพลิเคชันเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสีและป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก

Main Article Content

Teerapol Suebchompu
ประมูล สุขสกาวผ่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและสำรวจทรัพยากรธรรมชาติบนเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสีและป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสีและป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสีและป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสีและป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบเจาะจง ( Purposive  sampling ) ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน และ ผู้ใช้ จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แอปพลิเคชันเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสีและป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก 2) แบบประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชันเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสีและป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก และ3) แบบประเมินความพึงพอใจเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสีและป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก


            ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการศึกษาและสำรวจทรัพยากรธรรมชาติบนเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พบว่า  ทรัพยากรธรรมชาติตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสี จำนวน 30 ชนิด และป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก จำนวน 28 ชนิด 2) การออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันจะแสดงเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ระบุตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ของทรัพยากรธรรมชาติและแสดงรายละเอียดข้อมูล ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นบนระบบปฏิบัติการ   แอนดรอยด์ โดยใช้ Google Map API เพื่อระบุตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ละติจูด ลองติจูด บนแผนที่โลกหรือระบบจีพีเอส (Global Positioning System : GPS) 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสีและป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด  (x̄ = 4.50, S.D. = 0.47) และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนเฉลิมพระเกียรติป่าโคกท่าสีและป่าชุมชนบ้านหนองเม็ก โดยผู้ใช้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าแอปพลิเคชันสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.63, S.D. = 0.49)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.(2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ. 2554-2563

ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์ และ พระครูปลัด นิเวช ชินวโร (จงแจ้งกลาง). (2564). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยวของ อำเภอสีคิ้ว

จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปางล, 10(1), 152–162.

พรทิพา กรุณานนท์ม, ศศิชา พึ่งเงิน และหทัยรัตน์ เกตุมณีชัยรัตน์. (2561).ระบบแนะนำเส้นทางภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าพระนครเหนือบนระบบปฏิบัติกำรแอนดรอยด์.Journal of Applied Research on Science and Technology

(JARST), 17(1), 45–54

สุธิรา จันทร์ปุ่ม และคณะ. (2560). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนครบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์.

วารสารวิขาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 4(2), 114-120.

อรรควุธ แกวสีขาว, สิทธิโชค พรรคพิทักษ และกนกลดา ทาวไทยชนะ.(2559).แอพพลิเคชั่นสําหรับจัดเก็บขอมูลเชิงพื้นที่ทางดาน

การเกษตร.วารสารเกษตรพระวรุณ,13(2),293-301.

Lantzos, T., Koykoyris, G., & Salampasis, M. (2013). FarmManager: An Android Application for the Management of

Small Farms. Procedia Technology, 8, 587–592.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 140, 1–55.