แอปพลิเคชันจองคิวร้านเสริมสวย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันจองคิวร้านเสริมสวย 2) หาประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้นและ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบจำนวน 3 คน และกลุ่มผู้ใช้แอปพลิเคชันจำนวน 20 คน การได้มาทั้งสองกลุ่มเป็นแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพระบบและแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันจองคิวร้านเสริมสวย ประกอบด้วยผู้ใช้งาน 2 กลุ่ม (1) ร้านเสริมสวย ทำหน้าที่ในการลงทะเบียนร้าน การให้ข้อมูลการให้บริการของร้าน การบริหารจัดการคิวลูกค้า การสนทนาตอบข้อซักถามลูกค้าผ่านห้องสนทนา (2) กลุ่มผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน สามารถเลือกร้านบริการได้ ตรวจสอบข้อมูลการจอง ดูประวัติการใช้งาน แก้ไขข้อมูลส่วนตัว 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันโดยผู้เชี่ยวชาญ เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(= 4.20, S.D. = 0.49) 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อแอปพลิเคชัน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( = 4.55 และ S.D. = 0.37)
Article Details
References
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. 2564. โควิด-19 ดันคนไทยใช้เน็ต ทุบสถิติวันละ 12 ชั่วโมง Gen Z ใช้เน็ตสูงสุดปีแรก.
เข้าถึงได้จาก http:www.thansettakit.com/tech/506786
สรินทร มังกรงาม. 2560. เฮลป์ คาร์ : แอปพบลิเคชันสำหรับการค้นหาผู้ให้บริการซ่อมบำรุงรถยนต์.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
ทศพล ต้นสมบัติ. (2560). ระบบปฏิบัติการ ANDROID. เข้าถึงได้จาก https://beerkung.wordpress.com
/ระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุด/ระบบปฏิบัติการ-android/
สหรัฐ แหวนสูงเนิน, จิราภรณ์ มงคลมะไฟ, รัตนา กะสิเจริญ และคณะ. (2563). การศึกษาและพัฒนาระบบ
จองคิวร้านเสริมสวย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี: คณะวิทยาการจัดการ.
ณิชากร พรมจันทร์, ธิปก โรจน์สิงห์, ปนัดดา เมืองวงษ์ และคณะ. (2557). ระบบจองโรงแรม.
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ.
อริส ไทยประธาน, ธนนท์ เหมทอง และนุชนาฏ สัตยากวี. (2558). ระบบแจ้งเตือนการจองคิวร้านอาหาร
บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน: คณะวิศวกรรมศาสตร์.
จักรี ทํามาน และมานิตย์ อาษานอก. (2561). ผลการศึกษาองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริม
การวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการ
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 122-132.http://it.rmu.ac.th/itm-journal/assets/
uploads/formidable/6/5-1-11-122-132.pdf
ศิวพร เพชรวิลัย และนันทนา ศรีพรมทอง. (2561). ระบบการจองคิวและจัดการร้านทำผม
ออนไลน์แฮร์ทูสไตล์. คณะวิทยาศาสตร์: มหาวิทยาลัยสยาม.
ณิชากร พรมจันทร์, ธิปก โรจน์สิงห์, ปนัดดา เมืองวงษ์ และกุลธิดา อุปัชฌาย์. (2557). ระบบจองโรงแรม.
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ.