การพัฒนาระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ในโรงเรือนจำลอง กรณีศึกษา ลูกไก่ชนสายพันธุ์พม่า

Main Article Content

กาญจนา ดงสงคราม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนจำลอง กรณีศึกษา ลูกไก่ชนสายพันธุ์พม่า  2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนจำลอง กรณีศึกษา ลูกไก่ชนสายพันธุ์พม่า    และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของเกษตรที่มีต่อระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนจำลอง กรณีศึกษา ลูกไก่ชนสายพันธุ์พม่า  กลุ่มเป้าหมาย เป็นเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรซุ้มไก่ชน มหาสารคาม 52 หมู่ 8 บ้านแสบง ตำบลดอนงัว อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนจำลอง 2) แบบบันทึกการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ การทดสอบประสิทธิภาพของระบบด้วยการตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ ดังต่อนี้ 1) ค่าอุณหภูมิ และ 2) ค่าความชื้นสัมพัทธ์  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติทดสอบที


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนจำลอง กรณีศึกษา ลูกไก่ชนสายพันธุ์พม่า  พบว่า มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ 1.1) ส่วนรับค่า 1.2) ส่วนประมวลผล และ 1.3)  ส่วนแสดงผลการทำงานของระบบผ่านจอแสดงผลได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนจำลอง กรณีศึกษา ลูกไก่ชนสายพันธุ์พม่า  พบว่า มีการแสดงผลได้ดังนี้ (1) ค่าอุณหภูมิ สามารถวัดได้ตั้งแต่ 0 – 100 (˚C) ค่าความเหมาะสม จะอยู่ช่วงระหว่าง 32 – 37 (˚C)  (2) ค่าความชื้นสัมพัทธ์ สามารถวัดได้ตั้งแต่ 30 %RH – 100 %RH ค่าความเหมาะสม  จะอยู่ช่วงระหว่าง ≤40%RH และ ≥70%RH  และ (3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนจำลอง กรณีศึกษา ลูกไก่ชนสายพันธุ์พม่า  โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ  = 4.44  และ S.D. = 0.67 และ  3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อประเมินประสิทธิภาพของระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนจำลอง กรณีศึกษา ลูกไก่ชนสายพันธุ์พม่า  พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. แนวทางการเลี้ยงไก่พื้นเมือง.ธันวาคม 2561

โชคสันติฟาร์มไก่ชน (สัมภาษณ์, มิถุนายน 2564)

อภิชัย รัตนวราหะ .(2553). การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับไกพื้นเมือง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บัณฑิตพงษ์ ศรีอำนวย, สราวุธ แผลงศร, วีระสิทธิ์ ปิติเจริญพร และ พิมพ์ใจ สีหะนาม. (2562).

การออกแบบระบบสมาร์ทฟาร์มโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับสวนมะนาว จังหวัด เพชรบุรี. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 น.808- 816. นครราชสีมา:วิทยาลัยนครราชสีมา

วริศร์ รัตนนิมิต .2560. การติดตามและแจ้งเตือนข้อมูลทางเกษตรกรรมผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ในทุกสรรพสิ่ง. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม, 3(2) : 17-21.

ธนากร น้ำหอมจันทร์ และอติกร เสรีพัฒนานนท์. (2556). ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ใน โรงเรือนเพาะปลูกพืชไร้ดินแบบ Evaporative Cooling System ร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำ

แบบอัตโนมัติ โดยใช้ PLC. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ประจำปี การศึกษา 2555

เสฎฐวิทย์ เกิดผล .(2559). เซ็นเซอร์สำหรับ Internet of Things. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2565 ค้นจาก

https://goo.gl/cdLcKd

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบญจภา คงสุข .(2563). การพัฒนานวัตกรรมในการจัดการฟาร์มเลี้ยงไก่พื้นเมือง เพื่อยกระดับการผลิตและ

เพิ่มมูลค่าสู่มาตรฐานด้านการตลาดสำหรับเกษตรกรรายย่อย. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์.

มหาวิทยาลัยนเรศวร. ประจำปีการศึกษา 2563

ขนิษฐา สิทธิเทียมจันทร์ และคณะ. (2560). การพัฒนาระบบตรวจวัดอุณหภูมิสำหรับโรงเรือนไก่ไข่ใน จังหวัด

สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์, กาญจนา ดงสงคราม, ศศิธร อ่อนเหลา, กฤตภาส ยุทธอาจ และ อุดมศักดิ์ พิมพ์พาศรี. (2564). การพัฒนาระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ำ. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(2) : 19-30.