การประยุกต์ใช้แก๊สชีวมวลอัดถังสำหรับธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวขนาดเล็ก Utilization of Compressed Biomass Gas in a Small Noodle Shop Business

Main Article Content

ธานิล ม่วงพูล
บุญธง วสุริย์
สัญญา ควรคิด
วริยา เย็นเปิง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแก๊สชีวมวลอัดถังสำหรับธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวขนาดเล็ก 2) ทดสอบประสิทธิภาพของแก๊สชีวมวลอัดถังสำหรับธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวขนาดเล็ก และ 3) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของกลุ่มเป้าหมายตามทฤษฎี TAM กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มธุรกิจก๋วยเตี๋ยวขนาดเล็ก อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แก๊สชีวมวลอัดถังสำหรับธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวขนาดเล็ก 2) แบบประเมินประสิทธิภาพ และ 3) แบบสอบถามการยอมรับเทคโนโลยีตามทฤษฎี TAM สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) แก๊สชีวมวลอัดถังสำหรับธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวขนาดเล็ก ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) ส่วนควบคุมและแจ้งเตือน จะทำหน้าที่ควบคุมและแจ้งเตือน ให้เป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ และ (2) ส่วนโครงสร้างแก๊สชีวมวลอัดถัง จากการทดสอบแก๊สชีวมวลอัดถังสำหรับธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวขนาดเล็ก สามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของแก๊สชีวมวลอัดถัง (1) การอัดและการเก็บแก๊สชีวมวลเข้าถังที่แรงดัน 100 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ใช้เวลาเฉลี่ย 23 นาที (2) ค่าความร้อนในการต้มเฉลี่ย 15 นาที น้ำให้ความร้อนเฉลี่ย 84 องศาเซลเซียส (3) การใช้แก๊สชีวมวลอัดถังขนาด 50 ลิตร ใช้งานได้เฉลี่ย 3 ชั่วโมง ที่ความร้อนของน้ำลวกก๋วยเตี๋ยวเฉลี่ย 83 องศาเซลเซียส และ (4) การประเมินประสิทธิภาพของแก๊สชีวมวลอัดถัง จากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 10 ท่าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายตามทฤษฎี TAM พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการทดลองใช้แก๊สชีวมวลอัดถัง อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ม่วงพูล ธ., วสุริย์ บ., ควรคิด ส., & เย็นเปิง ว. (2023). การประยุกต์ใช้แก๊สชีวมวลอัดถังสำหรับธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวขนาดเล็ก: Utilization of Compressed Biomass Gas in a Small Noodle Shop Business. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 9(1), 8–22. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/248824
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2564). พลังงานชีวมวล. สืบค้นจาก: http://www.dede.go.th.

กฤษฎางค์ ศุกระมูล, อุชา โพธิ์สุวรรณ, กฤตยชญ์ คำมิ่ง และกิตติโชติ ศุภกำเนิด. (2562). เตาชีวมวลผลิตเชื้อเพลิงแก๊สให้กับเตาเผาเซรามิกส์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(2), 102-111.

กลิ่นประทุม ปัญญาปิง, รสสุคนธ์ จะวะนะ, ขนิษฐา ราชบันเทิง, ธิดารัตน์ พิสิฐชัยกร และธีรเมธ นาปรัง. (2564). การอัดก๊าซชีวภาพในถังบรรจุก๊าซและการใช้หุงต้ม. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 6(1), 12-18.

อุบล ตันสม, สมภพ เภาทอง, ปิยศิริ สุนทรนนท์ สินไชย, และ นิสาพร มูหะมัด. (2564). การผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลบางโกระและตำบลช้างให้ตก จังหวัดปัตตานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 12(3), 207-222.

ลดาวัลย์ วัฒนะจีระ, ณรงค์ศักดิ์ ลาปัน, วิภาวดี ชัชวาลย์, อานันท์ ธัญญเจริญ และภาคภูมิ รักร่วม. (2559). การพัฒนาก้อนเชื้อเพลิงชีวมวลจากเศษฟางข้าวผสมเศษลำไยเหลือทิ้ง. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 39(2), 239-255.

สุปราณี วุ่นศรี, นพดล โพชกำเหนิด และภารุณีย์ สามพิมพ์. (2564). การพัฒนาเตาชีวมวลประหยัดพลังงานสำหรับแปรรูปขนมซั้งน้ำดังของชุมชนตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 12(1), 66-76.

วัชรากร ใจตรง และมนตรี วงค์ศิริวิทยา. (2561). ได้ศึกษาผลการเผาไหม้ชีวมวลโดยตรงในเตาเผาเชื้อเพลิงระบบหัวเผาจากการอัดอากาศของพัดลมหอยโข่ง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(3), 191-198.

Mysior M., Stepien P. and Koziołek S. (2020). Modeling and Experimental Validation of Compression and Storage of Raw Biogas. Processes 2020, 8(12), 1556; https://doi.org/10.3390/pr8121556.

Szpica D. and Kusznier M. (2020). Modelling of the Low-Pressure Gas Injector Operation. acta mechanica et automatica, 14(1), 29-35. https://doi.org/10.2478/ama-2020-0005.

Rasoulkhani, M., Ebrahimi–Nik, M., Abbaspour-Fard, M. H., and Rohani, A. (2018). Comparative evaluation of the performance of an improved biomass cook stove and the traditional stoves of Iran. Sustainable Environment Research, 28(6), 438-443.

พลชัย ขาวนวล, สมบูรณ์ ประสงค์จันทร์ และ สุนารี บดีพงศ์. (2563). การพัฒนาสมรรถนะเตาชีวมวลชนิด TLUD ระดับครัวเรือน. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ, 14(1), 52-62.

นิกราน หอมดวง, นฤมล ทิศใต้, กนกวรรณ ศรีคำวัง, เสริมสุข บัวเจริญ, กิตติกร สาสุจิตต์ และณัฐวุฒิ ดุษฎี. (2560). สมรรถนะเตาแก๊สชีวมวลแบบป้อนต่อเนื่องและป้อนเป็นช่วงเมื่อใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13, โรงแรมดิเอ็มเพรส, เชียงใหม่. 228-236.

ธนชาติ มหาวัน, ชูรัตน์ ธาดารักษ์, ณัฐวุฒิ ดุษฎี, กิตติกร สาสุจิตต์ และนิกราน หอมดวง. (2559). สมรรถนะเตาแก๊สชีวมวลไร้ควันเมื่อใช้ซังข้าวโพดเป็นเชื้อเพลิง. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12, โรงแรมวังจันทน์ ริเวอร์วิว, พิษณุโลก. 626-631.

อาทิตย์ แสงโสภา, ติณกร ภูวดิน, วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ, ไมตรี พลสงคราม และปรีชา ขันติโกมล. (2559). การศึกษาเตาแก๊สหุงต้มแรงดันสูง KB-5 ที่ใช้แก๊สวีวมวลเป็นเชื้อเพลิง. ใน การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30, สงขลา.

จักรี ทำมาน และ มานิตย์ อาษานอก. (2561). ผลการศึกษาองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการ วิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 122-132.