การสังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ Project-based Learning Synthesis with Digital Technology to Encourage Analytical Thinking

Main Article Content

แจ่มนภา ล้ำจุมจัง
สุนันทา กลิ่นถาวร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรัช อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) สังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย เป็นผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และใช้สถิติที่พื้นฐาในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยรวมเห็นด้วยอยู่ระหว่างร้อยละ 53.00 – 86.00 และไม่เห็นด้วยอยู่ระหว่าง 14.00-43.00 2) ผลการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ส่วนที่ 1 นโยบาย หลักการ และแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 การเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์  ส่วนที่ 3 ด้านตัวชี้วัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์  ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันด้วยการใช้เทคโนโลยี  และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างชิ้นงาน และ ด้านผู้เรียน ได้แก่  มีความเข้าใจในการเรียนรู้แบบโครงงาน มีทักษะการคิดวิเคราะห์  มีความสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และสร้างสรรค์ชิ้นงาน และสามารถนำเสนอและเผยแพร่ผลงานได้อย่างสร้างสรรค์ และ 3) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยรวมและรายด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ คือ ด้านรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานด้วย ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ด้านการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ด้านนโยบาย หลักการ และแนวคิด และด้านตัวชี้วัดกิจกรรมการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3).

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรภัทร คำโส, วรปภา อารีราษฎร์ และ ธรัช อารีราษฎร์. (2564). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาด้วยกิจกรรมการเดินเมือง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กาญจนา ดงสงคราม, วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราษฎร์. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรม

การเรียนรู้แบบ AOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบโครงการ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ณัฐพิมล ธรรมสรางกูร. (2559). รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิด

วิเคราะห์ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ดนุภัค เชาว์ศรีกุล, ธีรวุฒิ เอกะกุล และกฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2558). การพัฒนาความสามารถในการใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.

อินฟอร์เมชั่น, 22(1), 49-58.

ดวงจันทร์ วรคามิน. (2559). โครงการ “การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะ

เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วรปภา อารีราษฎร์. (2557). นวัตกรรมระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สมเจตน์ ภูศรี, พิสุทธา อารีราษฎร์, วิทยา อารีราษฎร์ และ ธวัชชัย สหพงษ์. (2553). รูปแบบการจัด

การเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ทางไกล เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุวิทย์ มูลคำ และคณะ. (2550). กลยุทธ์-การสอนคิดแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพฯ:

ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อภิชาติ เหล็กดี, วรปภา อารีราษฎร์ และ ปานใจ ธารทัศนวงศ์. (2560). รูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ดิจิทัล สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรมโดยใช้เทคนิคการสอนงานแบบมีส่วนร่วม. (วิทยานิพนธ์ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Bloom, B.S. (1972). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook 1: Cognitive.

(17th ed.). New York: David Mackay.

Jonassen, D.H. et al. (2003). Learning to Solve Problems with Technology : a Constructivist

perspective. Nj: Merrill Prentice Hall.

Jumaat, N. F., & Tasir, Z. (2013). Integrating Project Based Learning Environment into the Design

and Development of Mobile Apps for Learning 2D-Animation. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 103, 526-533.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.