การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานวิสาหกิจชุมชน Development of an information system to support community enterprise operations
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในวิสาหกิจชุมชน 2) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานวิสาหกิจชุมชน และ 3) ประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการใช้งานระบบ ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานวิสาหกิจชุมชนเป็นเว็บแอปพลิเคชัน ได้พัฒนาขึ้นตามหลักการของวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) ในรูปแบบของ V-Model เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ได้แก่ ภาษาโปรแกรม PHP ในรูปแบบของ Yii Framework และใช้ MySQL สำหรับจัดการฐานข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานวิสาหกิจชุมชนสามารถทำงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีการทำงานหลัก 6 ระบบ คือ 1) จัดการข้อมูลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2) จัดการข้อมูลของสินค้าและบริการ 3) จัดการข้อมูลรายรับและรายจ่าย 4) ค้นหาและแสดงผลข้อมูลของวิสาหกิจชุมชน 5) ค้นหาและแสดงข้อมูลของสินค้าและบริการ และ 6) ส่งข้อมูลเข้าไลน์กลุ่ม การใช้งานแบ่งออกตามประเภทของผู้ใช้งาน ได้ 3 กลุ่ม ซึ่งผู้ใช้จะเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ตามสิทธิ์ที่กำหนด ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( =4.75) และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( =4.64) จึงสรุปได้ว่าระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้งานเพื่อสนับสนุนการทำงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ตรงกับความต้องการและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2548). สาระสำคัญของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548.
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล, ธนากร ธนวัฒน์, ภาคภูมิ โชคทวีพาณิชย์ และ กิตติวรรณ จันทร์ฤทธ์. (2561). ระบบ
สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการฐานข้อมูลผู้รับบริการและอัตราค่าบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ
(One Stop Service) ของศูนย์บริการสุขภาพราษฎร์พิษณ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี
สารสนเทศและนวัตกรรม, 5(2), 51-59.
ธีรภพ แสงศรี. (2565). การพัฒนาระบบตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเกษตรกร สำนักวิจัยและพัฒนา
การเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ,
(2), 81-91.
พัชราภรณ์ หงส์สิบสอง. (2565). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอ จังหวัดน่าน.
วารสารวิชาการ Journal of Information and Learning, 33(2), 98-107.
ภิราภรณ์ บุตรซอ, อรยา อินต๊ะขิล, เนตรดาว โทธรัตน์ และ พิมาย วงค์ทา. (2565). การพัฒนาระบบ
สารสนเทศเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษากลุ่มผลิตหมวกยางพารา อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2(2), 43-53.
รัตน์ชฎาพร ศรีสุระ, สุพัตรา วะยะลุน, รัตนภรณ์ แซ่ลี้ วนษา สินจังหรีด. (2565). การใช้แนวคิดแบบอไจล์
ในการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าก่อ จังหวัดอุบลราชธานี.
วารสารวิชาการ Industrial Technology Journal, 7(2), 66-79.
วันเพ็ญ ผลิศร และ นีลวัสน ดิษฐสวรรค์. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าว
เพื่อสุขภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปุยหมักอินทรีย์ชีวภาพบ้านหนองขุม จังหวัดสุพรรณบุรี.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 13(2), 102-117.
สมศักดิ์ บุตรสาคร, ตติยา องค์ศิริพร, กิตติพงษ์ โสภณธรรมภาณ, ภูริวัตร คัมภีรภาพพัฒน์, อธิพันธ์
วรรณสุริยะ และศรีสวัสดิ์ เที่ยงธรรม. (2565). ระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดดิจิทัล ผลิตภัณฑ์
ของวิสาหกิจชุมชนวัยหวานอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและ
เทคโนโลยีอีสเทิร์น, 19(2), 118-131.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 – 2564. สำนักนายกรัฐมนตรี.
อรุณ หนูผุด. (2562). รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนสงขลา. สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา กรมส่งเสริม
การเกษตร.
เอกชัย แน่นอุดร,และวิชา ศิริธรรมจักร.(2552).การเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต.มหาสารคาม: อภิชาต
การพิมพ์.
เอกบิณ ใจแก้วมา. (2559). การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นด้วย Yii Framework. ลำปาง: บริษัท ไดร์ฟซอฟท์
จำกัด.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด
ยูเคชัน จำกัด.