การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษา โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ Application of Digital Technology to Publicize Educational Programs by Exploratory Factor Analysis
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาหลักสูตรการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ 2) พัฒนาสื่อดิจิทัลสำหรับการประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษาตามปัจจัยองค์ประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาหลักสูตรการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้สื่อดิจิทัลสำหรับการประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษาตามปัจจัยองค์ประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาหลักสูตรการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี แบบสอบถามการรับรู้สื่อดิจิทัล และ แบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์ที่มีต่อสื่อดิจิทัล สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจจากแบบสอบถามที่มีข้อคำถาม 50 ข้อ มีค่าความร่วมกันของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.467 ถึง 0.903 และ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับมีความเชื่อมั่นสูง (สัมประสิทธิ์แอลฟามีค่า = .927) ค่าความเชื่อมั่นของแต่ละปัจจัยอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (สัมประสิทธิ์แอลฟามีค่า อยู่ในช่วง .912 ถึง .959) ปัจจัยหรือตัวแปรมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (factor loading) อยู่ระหว่าง 0.682-0.829 2) การพัฒนาสื่อดิจิทังเพื่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษา ดำเนินการโดยเลือกปัจจัยที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงสุด จำนวน 9 ข้อ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.882-0.851 นำมาออกแบบองค์ประกอบสื่อประชาสัมพันธ์และพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อออนไลน์ ประกอบด้วย สื่อโปสเตอร์ สื่อแบนเนอร์ และ สื่องานนำเสนอ โดยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อสื่อที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการทดลองใช้สื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรการจัดการศึกษา (1) ความคิดเห็นของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่มีต่อสื่อดิจิทัลสำหรับการประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษา โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และ (2) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อสื่อดิจิทัลสำหรับการประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษา ด้านการรับรู้และด้านความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
เกียรติศักดิ์ ภูตะมี. (2556). การเปิดรับความคาดหวังและความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (รายงานโครงการเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สาขาการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชาริกา ศิลปวิชัย และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี และแนวทางการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติโสตทัศนศึกษา-เทคโนโลยี สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2544). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ทิปปิ้งพอยท์.
ณัชชา สุวรรณาวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควต้า) ประจำปีการศึกษา 2560. นครราชสีมา: สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ณัฐธยาน์ สมยูรทรัพย์. (2563). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนหลักสูตรนานาชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 1-2.
ณัฐวัฒน์ พระงาม. (2562). อิทธิพลสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียนในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(1), 49-68.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรลสถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทอดชัย บัวผาย, วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราษฎร์. (2554). การวิเคราะห์สมรรถนะครูผู้สอนสาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับประถมศึกษาด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ. ใน รายงานการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2554 งานวิจัยก้าวหน้า วิชาการเข้มแข็ง. หนองคาย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธัญยากร ช่วยทุกข์เพื่อน. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(90), 256-271.
นงเยาว์ ขัติวงษ์. (2562). การศึกษาช่องทางการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ ที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บศกร สันติสิริกุล, ธรัช อารีราษฎร์ และวรปภาอารีราษฎร์. (2564). การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในด้านการประชาสัมพันธ์หลักสูตร สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 53 “การจัดการเรียนรู้ การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (หน้า 16-27) วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม 2564. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พรทิพย์ พิมลสินธุ์. (2551). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โฟร์พริ้น.
มงคล แสงอรุณ, วรปภา อารีราษฎร์, สมบัติ ท้ายเรือคำ และธรัช อารีราษฎร์. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของผู้เรียนระดับประกาศนัยบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 35(1), 164-175.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2563). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2563. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รสริน ศรีริกานนท์. (2555). การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) [เอกสารประกอบการบรรยาย]. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคสพับลิเคชั่นส์.
วณิชา สาคร, ธรัช อารีราษฎร์ และวรปภา อารีราษฎร์. (2558). การศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเพื่อการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 1 (หน้า 102-109) วันที่ 12-13 พฤษภาคม 2558. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุบิน เอกจิตต์. (2562). การพัฒนารูปแบบสื่อวีดิทัศน์เพื่อการชี้นำเรื่อง การประชาสัมพันธ์แนวทางการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์รายวิทยาลัย, 4(1), 83-98.
Boulding, Kenneth E. (1975). The Image: Knowledge in Life and Society. Michigan: University of Michigan Press.
Byrne, B. M. (2001). Structural equation modeling with AMOS: basic concepts, applications, and programming. NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Cutlip, S. M., Center, A. H. and Broom, G. M. (1999). Effective Public Relations. New Jersey: Prentice Hall.
DeFleur, Melvin L. (1970). Theories of Mass Communication (2nd ed.). New York: David McKay.