การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลชุมชน กรณีศึกษา ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง The development of application program for community information management system of Nakrua Subdistrict, Mae-Tha District, Lampang Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบในรูปแบบแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลชุมชน ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 2) ประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบการจัดการข้อมูลชุมชน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อระบบการจัดการข้อมูลชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบการจัดการข้อมูลชุมชนในรูปแบบแอปพลิเคชัน 2) แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบการจัดการข้อมูลชุมชนโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อการทำงานระบบจัดการข้อมูลชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบและพัฒนาระบบในรูปแบบแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลชุมชน จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการเข้าถึงบริการของรัฐ (2) ด้านสุขภาพ (3) ด้านความเป็นอยู่ (4) ด้านรายได้ และ (5) ด้านการศึกษา ในการดำเนินงานวิจัย ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนจากประชาชนในแต่ละครัวเรือนทั้ง 12 หมู่บ้านในตำบลนาครัว พบว่าสามารถแสดงผลการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามความต้องการของผู้ใช้ 2) การประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อการทำงานระบบจัดการข้อมูลชุมชน พบว่ามีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
มหาวิทยาลัยอุบลราชธาณี. (2560) การใช้งานเบื้องต้น Applicationสร้างแบบฟอร์มสารพัดประโยชน์ สถาปัตยกรรมแอนดรอยด์. https://www.ubu.ac.th/web/files_up/00037f2020051217121014.pdf
คลังบ้านดิจิตอลมาร์เกตติ้ง. (2561) Google Data Studio คืออะไร ?.
https://agency.klungbaan.com/google-data-studio-คืออะไร
ศรีนวล ฟองมณี, วิจิตรา มนตรี, จำรัส กลิ่นหนู, ธิดาลักษณ์ อยู่เย็น, สำราญ ไชยคำวัง และชลิดา จันทจิรโกวิท.(2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อจัดการวิถีชุมชน กรณีศึกษา ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9.มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
คฑาวุธ ถวัลย์วิลาสวงศ์ (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันในการให้บริการประชาชนของ เทศบาลตำบลเกาะแต้ว. รายงานการวิจัย คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ฉัตรชัย อินทรประพันธ์ และยุชิตา กันหามิ่ง. (2563). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 9 และระดับนานาชาติครั้งที่ 2. (น. 1264-1273). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์