การพัฒนาแอปพลิเคชัน “น้องลำดวน” ไลน์แชทบอท เพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ Developing the “Nong Lamduan” Line Chatbot Application to Recommend Tourist Attractions in Sisaket Province

Main Article Content

Phisan Sookkhee
เจษฎา ชาตรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชัน “น้องลำดวน” ไลน์แชทบอท         เพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชันน้องลำดวน           ไลน์แชทบอทเพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยกระบวนการออกแบบ และพัฒนาแอปพลิเคชันน้องลำดวนไลน์แชทบอทโดยใช้ Dialog flow ทำงานร่วมกับ Line Messaging API ในกระบวนการประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชัน “น้องลำดวน” ผู้วิจัยได้ทำการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย     ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมระบบ จำนวน 5 คน             และเจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 5 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 15 คน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแอปพลิเคชัน“น้องลำดวน” ไลน์แชทบอทเพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดศรีสะเกษซึ่งใช้ Dialog flow เป็นเครื่องมือในการพัฒนาแชทบอทร่วมกับ Line Official Account และใช้ Django Web Framework สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการประมวลผล และจัดการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และสำหรับสถาปัตยกรรมการทำงานของแชทบอท ประกอบด้วยการรับข้อความจากผู้ใช้ การประมวลผลข้อความ โดยการเรียนรู้ของเครื่อง และการส่งข้อความตอบกลับไปยังผู้ใช้ และ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชัน “น้องลำดวน” ไลน์แชทบอทเพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด   โดยด้านการออกแบบมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาด้านเนื้อหา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านการใช้งาน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

Microsoft. (2565). ทำไมจึงใช้แชทบอท AI. https://powervirtualagents.microsoft.com/th-th/ai-chatbot/

Iconext Writer. (2565). Chatbot คืออะไร? ประโยชน์และตัวอย่างการนำไปใช้ในธุรกิจ.

https://iconext.co.th/th/2022/01/27/chatbot-คืออะไรประโยชน์และตัว/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 - 2570. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13150

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. (2565). แนะนำ “ทักทาย” แอพพลิเคชั่น. https://www.thaichamber.org/view/365

สุรชาติ บัวชุม และภัทรมน กล้าอาษา. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันในรูปแบบแชทบอทบริการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวโดยเชื่อมโยงข้อมูลกับผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดชัยนาท. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 17(1), 51-62.

จักรพันธ์ สาตมุณี, ภคพล สุนทรโรจน์, คัชรินทร์ ทองฟัก, และพงษ์กัมปนาท แก้วตา. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านระบบแอปพลิเคชัน Line Chatbot ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(1), 100-111.

พงศ์พัทธ์ สวัสดิ์รักษากุล. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันไลน์แชทบอท สำหรับการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และเส้นทางท่องเที่ยวในรูปแบบวันเดย์ทริปภายในจังหวัดสมุทรสาคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. http://dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/8632/1/64500516%20พงศ์พัทธ์%20สวัสดิ์รักษากุล.pdf

รัตนาวลี ไม้สัก และจิราวรรณ แก้วจินดา. (2562). แอปพลิเคชันแชทบอทเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. https://repository.rmutp.ac.th/bitstream/handle/ 123456789/3367/BUS_63_04.pdf?sequence=1&isAllowed=y

อำไพ วรรณสินธุ์. (2566). วิเคราะห์และออกแบบระบบ. https://www.gotoknow.org/posts/378954

Seels, B., & Glasgow, Z. (1998). Making instructional design decisions (2nd ed.). Upper Saddle River, NJ: Merrill.

Iship. (2566). ระบบจัดการร้านค้า Chatbot สร้างธุรกิจให้ปังได้มากกว่าที่คิด. https://iship.co.th/chatbot-for-online-store/?gclid=Cj0KCQjw1aOpBhCOARIsACXYv-fiQYHlYRPmK7eYddv0vjAHFmw-B1iM6UzFZ1fnL6a_WCH9q8H1T7YaAmhnEALw_wcB

Best & Kahn J.V. (1993). Research in Education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

ศิริพล แสนบุญส่ง. (2565). การพัฒนาเกมโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคานวณ สาหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(1), 56 - 66.

สหัทยา สิทธิวิเศษ, วรรณวิรัตน์ ตุงคะเวทย์, ศุภธิดา นันตะ๊ ภูมิ, ชิดชนก ยมจินดา, และชิดชนก เทพบัณฑิต. (2019). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยตนเองตามเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนตาบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย. วารสารมังรายสาร, 7(1), 117-128.