การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา The Information System Development for Support Research Management at Chaopraya University
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา 2) ศึกษาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา และ 3) ประเมินความพึงพอใจของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ใช้งาน ได้แก่ คณาจารย์/นักวิจัย คณบดี ผู้บริหารระดับสถาบัน และผู้ดูแลระบบ โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างโดยใช้วิจารณาณ จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา 2) แบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบสารสนเทศ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา พบว่า ระบบการทำงาน ประกอบด้วยผู้ใช้งานหลัก 4 กลุ่ม โดยพัฒนาในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน สามารถใช้งานได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานและนำไปใช้ในการวางแผนในการบริหารจัดการงานวิจัย 2) ศึกษาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา พบว่า ประสิทธิภาพของระบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.36, SD. = 0.86) โดยด้านที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ด้านฟังก์ชันการทำงานของระบบ และด้านความปลอดภัย และ 3) การประเมินความพึงพอใจการใช้งานของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อการใช้งานของระบบสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, SD. = 0.73)
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2566). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยแบบสร้างเครือข่ายงวิจัยมีชีวิต. อินฟอร์เมชั่น, 28(1), 131-151.
ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัมน์ พูลเขตนคร, ธนวัฒน์ เจริญษา, นิตยา นาคอินทร์, ออกัสติน อักบี, และภาสกร เรืองรอง. (2562). เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(6), 478-494.
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). กฎกระทรวง มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. https://www.mhesi.go.th/images/2565/T_1390003.PDF
สุกัญชลิกา บุญมาธรรม, จิรวัฑฒ์ แก้วโกศล และเอกพงษ์ ทองแท้. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศจัดการฐานข้อมูลงานวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3(2), 39-45.
เมทิกา พ่วงแสง และวิสุตา วรรณห้วย. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 4(1), 8-17
Rainer, R. K., & Prince, B. (2021). Introduction to information systems. John Wiley & Sons.
คมสันต์ ประจำจิตร. (2562). การบริหารระบบสารสนเทศ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 4(10), 1-17.
Meiryani, A. S., Siagian, R. A., Wardaya, A., & Puspokusumo, L. (2020). Decision making and management information systems. Journal of Critical Reviews, 7(7), 320-325.
ปิยนันท์ เสนะโห. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล. https://ict.pbru.ac.th/wp-content/uploads/2021/09/รวมเล่มงานวิจัยปิยนันท์.pdf
Arora, R., & Arora, N. (2016). Analysis of SDLC models. International Journal of Current Engineering and
Technology, 6(1), 268-272.
ศักดา ปินตาวงค์. (2563). การพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยผ่านเว็บแอปพลิเคชันของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6(2), 55-70.
ณิชนันท์ กะวิวังสกุล, ไหมคำ ตันติปทุม และอัครเดช จิรพรศิรพัชร. (2566). ระบบจัดการฐานข้อมูลนักศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 4(2), 1-14.
DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information systems success: a ten-
year update. Journal of management information systems, 19(4), 9-30.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา
Best, John W. (1977). Research in Education (3rd ed.). (pp.190). Prentice Hall, Inc.