เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อม สำหรับการเพาะปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ IOT Technology for Cultivation of Rice with Organic Agriculture

Main Article Content

ไพโรจน์ สมุทรักษ์
อำนาจ สวัสดิ์นะที
สายชล ทองคำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ระบบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อมสำหรับการเพาะปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ 2) เผยแพร่และประยุกต์ใช้งานการเรียนรู้ระบบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อมสำหรับการเพาะปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ กรอบแนวคิดในการวิจัยคือ การใช้เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลการปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดชัยนาท ตั้งแต่เริ่มกระบวนการปลูกข้าว การเตรียมแปลง จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต และการวางแผนในการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป โดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ กระบวนการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ปัญหา และวิธีการแก้ไข รวมถึงปัจจัยสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตในแต่ละฤดูกาล การศึกษาและการใช้เทคโนโลยีและการเก็บบันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลสำหรับการปลูกข้าวอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอหันคาและอำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท การสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 30 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ใช้กระบวนการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสารเป็นส่วนประกอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อม  2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อม 3) แบบประเมินความพึงพอใจของการใช้งานชุดการเรียนรู้ระบบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยจากการ  พบว่า 1) ชุดการเรียนรู้ระบบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อม ประกอบด้วย บอร์ดควบคุม เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นในอากาศและเซนเซอร์วัดความชื้นในดิน โดยมีผลการประเมินประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน พบว่าด้านเนื้อหาของชุดการเรียนรู้ ด้านการออกแบบชุดการเรียนรู้ และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.20 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.76 โดยหัวข้อชุดการเรียนรู้มีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจด้านเกษตรอินทรีย์ได้ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจของชุดการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน พบว่า ด้านการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก ดังนั้นชุดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลในพื้นที่ปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่งอุปกรณ์ดิจิทัลขนาดย่อม และใช้ข้อมูลดิจิทัลอุณหภูมิและความชื้นในนาข้าวมาช่วยการตัดสินใจการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือประยุกต์ใช้กับการเกษตรอินทรีย์แบบต่าง ๆ ได้ รวมถึงการเกษตรแบบยั่งยืนซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาต่อยอด ช่วยเป็นเครื่องมือให้เกษตรกรช่วยตัดสินใจวางแผนการเพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. http://www.nesdb.go.th/main.php?filename=develop_issue.

ชวิศร์ สวัสดิสาร. (2564). คู่มือเกษตรอินทรีย์ (สำหรับเกษตรกร). สุราษฎร์ธานี: สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 กรม วิชาการเกษตร.

สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์, สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). (2560). การผลิตข้าวครบวงจรโดยเกษตรกร มีส่วนร่วม. https://www.arda.or.th

กรมการข้าว. (2556). ข้าว: เทคโนโลยีการปลูกและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการผลิต ข้าว, กรมการข้าว.

ธานี ศรีวงศ์ชัย และสราวุธ รุ่งเมฆารัตน์. (2558). การปลูกข้าว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธรัช อารีราษฎร์ และวรปภา อารีราษฎร์. (2563). ระบบไอโอทีสำหรับการตรวจสอบความชื้นและอุณหภูมิเพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือนให้มีผลผลิตที่สมบูรณ์. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1). 7–17.

สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์, กาญจนา ดงสงคราม, ศศิธร อ่อนเหลา, กฤตภาส ยุทธอาจ, และอุดมศักดิ์ พิมพ์พาศรี. (2565). การพัฒนาระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ำ. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(2), 17-30.

พรรณี สวนเพลง และพิชญา แจ่มจันทร์. (2019). A Smart Farm Prototype with an Internet of Things (IoT) Case Study: Thailand (2562). Journal of Advanced Agricultural Technologies, 6(4), 241-245.

ณัฐพงศ์ พลสยม. (2567). การพัฒนาระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ . วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 9(2), 122-139.

องค์การบริหารส่วนตำบลเด่นใหญ่. (2565). องค์การบริหารส่วนตำบลเด่นใหญ่. https://www.denyai.go.th/home

สำนักงานการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดชัยนาท. (2564). ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของจังหวัดชัยนาท ประจำปี 2564. https://www.opsmoac.go.th/chainat-dwl-preview-431491791860

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7.

http://www.oae.go.th/ewt_news.php?%20nid=24035&filename=news.

อุดม ดอกแดง. (23 พฤษภาคม 2565). การทำนาข้าวเกษตรอินทรีย์ตำบลเด่นใหญ่ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. สัมภาษณ์.

สาธิท แสงฉวี. (2 มิถุนายน 2565). การทำนาข้าวเกษตรอินทรีย์กลุ่ม Young Smart Farmer ตำบลบ้านเชี่ยน ตำบลหันคา. สัมภาษณ์.

Sangtong Boonying.(2021). A Smart Water Management in a Paddy Field Using IOT Technology and Machine Learning. Information Technology Journal, 17(2), 1-10.