การบำบัดรักษาด้วยน้ำโอโซน

ผู้แต่ง

  • ภัทรวีรินทร์ วรรัฐสุนทร
  • มงคล ศรีทองพิมพ์
  • พชณดา เอี่ยมกุล
  • จุมพล บำรุงวงศ์

คำสำคัญ:

โอโซน, น้ำโอโซน, โอโซนบำบัด, การผลิตโอโซน

บทคัดย่อ

โอโซนมีสถานะเป็นก๊าซ ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน และเป็นพิษ โครงสร้างโมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของออกซิเจนสามอะตอม (O3)  ค้นพบเมื่อกลางศตวรรษที่ 19  โอโซนไม่เสถียรสลายตัวได้อย่างรวดเร็ว ครึ่งชีวิตของโอโซนอยู่ที่ 40 นาที ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และมีครึ่งชีวิตประมาณ 140 นาที ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นจะกลายเป็นอะตอมอิสระของก๊าซออกซิเจน หรืออนุมูลอิสระซึ่งไวต่อการทำปฏิกิริยาและครึ่งชีวิตสั้น มีครึ่งชีวิตในน้ำสั้นกว่าในอากาศมาก โอโซนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายประการ เช่น การฆ่าเชื้อโรค กำจัดสารพิษ เพิ่มออกซิเจนในน้ำ  ปัจจุบันได้มีการนำโอโซนความเข้มข้นสูงประมาณ 10,000 mg/L ที่ถูกผลิตขึ้นจากการช็อตอากาศด้วยศักย์ไฟฟ้าสูงมาใช้เพื่อการบำบัดรักษาโรค และนำไปผ่านน้ำโดยการนำโอโซนผ่านน้ำ โดยให้ผู้ที่เข้ารับการบำบัดจุ่มมือและเท้าลงในน้ำที่มีก๊าซโอโซนเป็นเวลา 40 นาที โดยจะพักเป็นเวลา 5 นาที ทุกๆ 20 นาที เมื่อเปลี่ยนผู้เข้ารับการบำบัดจะเปลี่ยนน้ำสะอาดใหม่ทุกครั้ง  ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลของโอโซนที่มีต่อการบำบัดรักษาโรคด้วยการใช้แบบสอบถามผู้ที่เข้ารับการบำบัดด้วยโอโซนและนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ   ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ที่ผ่านการแช่มือแช่เท้าในน้ำที่ผ่านก๊าซโอโซนมีผลในด้านการช่วยผ่อนคลายทางอารมณ์ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้อย่างมีนัยสำคัญ 

References

Elvis AM, Ekta JS. (2011). Ozone Therapy: A Clinical Review. J Nat Sci Biol Med. 2011;2(1):66–70. doi:10.4103/0976-9668.82319.

Ozonation in Water Treatment. (2019). [Online]. Available from: https://water-research.net/index.php/ ozonation [accessed 4 August 2019].

Arch Med Res. (2008) Jan;39(1):17-26. Epub 2007 Sep 29.

Bocci V. (1999). Br J Biomed Sci. 1999. ;56(4):270-9.

Bocci V, et al. (2009). Med Res Rev. 2009 Jul;29(4):646-82. doi: 10.1002/med.20150.

Merve E. A. and Işıl Şaroğlu Sönmez. (2021). Ozone therapy in the Management and Prevention of Caries. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23969041/ [accessed 1 June 2021].

Valacchi G, Fortino V, Bocci V. (2005). The Dual Action of Ozone on the Skin. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16307642. [accessed 1 June 2021].

Jeffrey T. (2021.) Oxygen Healing Therapies [Online]. Ozonated Water. Available from: http://www.oxygen

healing therapies.com/ozonated_water.html [accessed 1 June 2021].

คัทลียา เมฆจรัสกุล. (2564). การดูดซึมทางผิวหนัง (Percutaneous Absorption) [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://ccpe.

pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=390. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-20