การลดของเสียในกระบวนการชุบโครเมี่ยมด้วยวิธีการออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม
คำสำคัญ:
การออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม, พลาสติกชุบโครเมี่ยม, ลดของเสียบทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้ได้ทำการศึกษาปัญหาการลดของเสียในกระบวนการชุบโครเมี่ยมในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งพบของเสียจากปัญหาเม็ดชุบที่มีสูงถึง 22.02%ต่อเดือน ซึ่งในการศึกษานี้ได้กำหนดสาเหตุที่เกิดเม็ดชุบที่เกิดในกระบวนชุบโครเมี่ยมบนผิวพลาสติก โดยใช้วิธีการออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม ด้วยการทดสอบแบบ 2k full factorial ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95%โดยกำหนดปัจจัยในการทดสอบ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ประกอบไปด้วย กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิของน้ำยาชุบ รอบการกรองเคมี ระดับความเข้มข้นของน้ำยาชุบ จิ๊บชุบ กับจำนวนที่ใช้ทดสอบทั้งหมดรวม 48 ครั้ง จากผลการทดลองพบว่ามี 2 ปัจจัยส่งผลเชิงเดี่ยวเท่านั้น คือ ปัจจัยรอบการกรองเคมี และปัจจัยประเภทของจิ๊ก หลังจากนั้นนำ 2 ปัจจัยดังกล่าวที่ส่งผลมาทำการปรับปรุงทางกายภาพ โดยกำหนดจำนวนรอบกรองเคมีในการชุบที่ 6 รอบ และรอบการเปลี่ยนจิ๊กชุบที่ 300 รอบที่เหมาะสม ซึ่งผลของการแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้ ทำให้พบว่าสามารถลดจำนวนงานเสียจากปัญหาเม็ด 8.42%ต่อเดือน โดยผลการศึกษาสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ สามารถลดปัญหาเม็ดชุบให้น้อยกว่าเดิม 10% และประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนโดย NPV เท่ากับ 1,410,541 บาท และ IRR เท่ากับ 33.82% โดยมีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 2.27 ปี ซึ่งพิจารณาแล้วคุ้มค่าแก่การลงทุน
References
จิตรลดา เลิศกิตติกุล และนันทชัย กานตานันทะ. (2557). การลดของเสียของบรรจุภัณฑ์ด้วยการออกแบบการทดลอง. KKU Res. J. 2014; 19(6) หน้า 886–899.
ดุษฎี บุญธรรม. (2559). การหาค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมของกระบวนการตัดแท่งพลาสติกโดยใช้หลักการออกแบบการทดลอง. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 2559 – ธันวาคม 2559 หน้า 20–28.
ปฐมพงษ์ หอมศรี และจักรพรรณ คงธนะ. (2556). การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนฉีดพลาสติกสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์โดยใช้หลักการออกแบบการทดลอง. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2556 หน้า 73–95.
ปองพล อุดมชัยเดช และอรรถกร เก่งพล. (2561). การลดของเสียในกระบวนการชุบเคลือบผิว กรณีศึกษา บริษัทในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง. การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี หน้า 227 – 234.
ผู้จัดการ360. (2563). ยานยนต์ไทยทรุดหนัก หวังโตใหม่ครึ่งปีหลัง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://cutt.ly/tnAABZs. (วันสืบค้นข้อมูล: 3 มกราคม 2564).
วรรณา ยงพิศาลภพ. (2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-65 อุตสาหกรรมรถยนต์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.krungsri.com/bank/getmedia/a18aad1f-e16c-44d5-858f-df5e90fe8eab/IO_Automobile_190805_TH_EX.aspx. (วันสืบค้นข้อมูล: 3 มกราคม 2564).
วิทยา สุมะลิ และ ระพี กาญจนะ. (2561). การลดของเสียในกระบวนการประกอบชิ้นส่วนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ โดยประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลอง. วารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา ปีที่ 26 ฉบับที่ 3 หน้า 156–165.
วิลันดา เริงโรจน์สรากุล และ ประเสริฐ อัครประถมพงศ์. (2554:). การปรับปรุงคุณภาพกระบวนการเคลือบด้วยไฟฟ้าเคมีของการผลิตวงจรไฟฟ้ารวม. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา ปีที่ 22 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2554 หน้า 93–100.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2555). ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://164.115.27.97/digital/files/original/d35c7796d70bd 2373bcdcf98ade7d6d2.pdf. (วันสืบค้นข้อมูล: 3 มกราคม 2564).
สุรศักดิ์ ชุบไธสง และ ระพี กาญจนะ. (2563). การลดของเสียในกระบวนการฉีดพลาสติกของชิ้นส่วนโทรศัพท์โดยการออกแบบการทดลอง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2563 หน้า 17 – 31.
Aiyoub Parchehbaf Jadid, Mostafa Pourjafar, Alireza Banae. (2014: 1). Optimization of Electroplating Conditions of Chromium(VI) Using Taguchi Experimental Design Method. Anal. Bioanal. Electrochem., Vol. 6, No. 1, 2014, 16 – 27. Page no. 17-21.
AYOOB AHRARI. (2010). Application of Design of Experiment technique in the nickel-chromium electroplating process on WC-Co substrate prior HFCVD Diamond coating. A project report submitted in partial fulfilment of the requirements for the award of the degree of Master of Engineering (Mechanical-Advanced Manufacturing Technology) Faculty of Mechanical Engineering Universiti Teknologi Malaysia. Page no. vi.
Douglas C. Montgomery. (2017). Strategy of Experimentation Design and Analysis of Experiments (Ninth Edition). Page no. 1-6.
----------. (2017 230). The2k Factorial Design. Design and Analysis of Experiments (Ninth Edition). Page no.