การลดต้นทุนในธุรกิจผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์

ผู้แต่ง

  • นีรนุช คชวงศ์
  • ศักดิ์ชาย รักการ

คำสำคัญ:

การขนส่งหลายรูปแบบ, การลดต้นทุนโลจิสติกส์, การขนส่งทางราง

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้ได้ทำการศึกษาต้นทุนการขนส่ง วิธีการขนส่ง เส้นทางการขนส่งโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต และปัจจัยอื่น ๆ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ซึ่งในการศึกษานี้ได้กำหนดขอบเขตการศึกษาเฉพาะการขนส่งสินค้าของลูกค้าในภาคใต้เท่านั้น ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่กันยายน 2563 - มีนาคม 2564 โดยผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ต้นทุนใน
แต่ละส่วนเพื่อทำให้การบริหารจัดการ ดำเนินกิจกรรมเพื่อลดต้นทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีและหลักการด้านการจัดการงานวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม การจัดการการดำเนินงาน (Operation Management)
การขนส่งหลายรูปแบบ จากการศึกษา พบว่า หากเปรียบเทียบการขนส่งภายในประเทศระหว่างโรงงานผลิตกับท่าเรือโดยขนส่งทางรางร่วมกับทางถนน แทนการขนส่งทางถนนอย่างเดียวในเส้นทางโรงงานตรัง-ท่าเรือกรุงเทพ สามารถประหยัดต้นทุนในการขนส่งได้ประมาณ 22-29% เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนรวมโดยไม่รวมค่าระวางเรือ การขนส่งข้ามแดน (Landbridge) จากสถานีรถไฟบางกล่ำไปยังท่าเรือปีนัง ประเทศมาเลเซีย สามารถประหยัดต้นทุนได้ 38% เมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งทางรถไฟไปยังท่าเรือกรุงเทพ ทั้งนี้ร้อยละที่สามารถลดต้นทุนได้อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ ระยะทางในการขนส่ง วิธีการขนส่ง ชนิดของสินค้าที่ทำการขนส่ง และความสามารถในการต่อรองราคา ผลการศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนซื้อรถยก
ตู้คอนเทนเนอร์ (Reach Stacker) 45 ตัน ประมาณการยอดขายต่อเดือน 500 ตู้คอนเทนเนอร์ กำหนด WACC ที่ 8% พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเป็นบวก 3,900,848.46 อัตราผลตอบแทนในการลงทุน (IRR) 17% มากกว่า WACC จุดคุ้มทุนในการลงทุน 491 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อเดือน จากผลการคำนวณดังกล่าวประเมินได้ว่าเป็นโครงการที่น่าลงทุน แต่เนื่องจากระยะเวลาคืนทุนค่อนข้างนาน 3.38 ปี ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย

References

กนกพร เรียนเขมะนิยม, วรรษมา แสงปลั่ง และกนกทอง ศักดิ์แหลมเงิน. (2560). การศึกษาความเป็นไปได้การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของบริษัทผลิตเม็ดพลาสติก. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 54 สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ.

ชิตพงษ์ อัยสานนท์. (ม.ป.ป). มองรอบทิศ คิดอย่างซัพพลายเชน การขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=1034&section=5&issues=77. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 10 ตุลาคม 2563).

ณัชพล จรูญพิพัฒน์กุล. (2561, 30 สิงหาคม). ตีแผ่โครงสร้างระบบโลจิสติกส์ไทย. สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. 134, 4.

มณิสรา บารมีชัย. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.iok2u.com/index.php/article/logistics-supply-chain/684-ct51-123. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 27 ตุลาคม 2563).

สกนธ์ นัยยานนท์. (2559). การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคุ้มค่าในการตัดสินใจลงทุนเครื่องจักรเคลื่อนที่บริเวณลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้า กรณีศึกษาบริษัท XYZ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2561. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช). 7-9.

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (ม.ป.ป). การตัดสินใจเพื่อการลงทุน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://home.kku.ac.th/anuton/3526301/Doc_04.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 18 ตุลาคม 2563).

อัฐพร โยเหลา. (2562). โลจิสติกส์ระดับชาติ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการค้า การลงทุนระดับโลก. Logistics เปลี่ยนต้นทุนเป็นกำไร อุตสาหกรรมสาร. 61, 22-23.

Edgar Granda and Bernardo Villarreal. (2017). Reducing Outbound Transportation Costs: A Case Study. Proceeding of the International Conference on Industrial Engineering and Operations Management Bogota, Colombia. 1.

KTMB. (ม.ป.ป.). KTM CARGO ROUTE MAP. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ktmb.com.my/kargo.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 13 กุมภาพันธ์ 2564).

Xiangfeng Zhou and Juan Du. (2018). Research on Optimization of Logistics Transportation Mode Based on Multimodal Transportation. 3rd International Conference on Economic and Business management (FEBM 2018). 320, 322.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-10