การเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานพัสดุไปรษณีย์ของนิติบุคคลอาคารชุด

ผู้แต่ง

  • จุมพล กิจสุขกาย
  • ภาวัต ไชยชาณวาทิก
  • ศักดิ์ชาย รักการ
  • จีรวัฒน์ ปล้องใหม่

คำสำคัญ:

ระบบงานพัสดุไปรษณีย์, ความพึงพอใจ, นิติบุคคลอาคารชุด, การเพิ่มประสิทธิภาพ, การจำลองสถานการณ์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานพัสดุไปรษณีย์ของนิติบุคคลอาคารชุดแห่งหนึ่ง ซึ่งประสบกับปัญหาปริมาณพัสดุไปรษณีย์ลงทะเบียน และสินค้าจำนวนมาก การจัดเก็บพัสดุไม่เป็นระเบียบ กระบวนการปฏิบัติงานใช้เวลานาน เกิดข้อร้องเรียน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นการบริหารจัดการของนิติบุคคลอาคารชุด การศึกษาได้เริ่มจากการทบทวนถึงรายละเอียดของปัญหาเพื่อทำการปรับปรุงกระบวนการงานพัสดุโดยการประยุกต์องค์ความรู้และเทคนิคการจัดการงานวิศวกรรม โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดจำนวนพัสดุตกค้างในสำนักงานนิติบุคคล โดยรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 และเพิ่มระดับความพึงพอใจในงานบริการด้านพัสดุไปรษณีย์ ผลจากการศึกษาปัญหาในกระบวนการทำงาน นำไปสู่การกำหนดวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยได้ดำเนินการพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้งานบนมือถือ การออกแบบและปรับปรุงห้องจัดเก็บพัสดุไปรษณีย์ ซึ่งผลจากการปรับปรุงได้ผลลัพธ์ ดังนี้ 1) ด้านขั้นตอนการทำงาน พบว่า การพัฒนาโปรแกรมที่ใช้งานบนมือถือ ทำให้สามารถลดขั้นตอนในกระบวนการจาก 8 เหลือ 6 ขั้นตอน ส่งผลให้ลดเวลาการทำงานส่วนนี้ได้ 2 ชั่วโมงต่อวัน 2) ด้านเวลาที่ใช้ในการให้บริการ พบว่า เวลาในการทำงานพัสดุก่อนและหลังการปรับปรุงใช้เวลาเท่ากับ 68 วินาทีต่อชิ้น และ 41 วินาทีต่อชิ้น ตามลำดับ คิดเป็นการลดลงเท่ากับ 27 วินาทีต่อชิ้น หรือร้อยละ 39.71 3) ด้านการลดพัสดุตกค้างสะสม พบว่า ค่าเฉลี่ยสต๊อกสะสมลดลงร้อยละ 35.32 4) ด้านความพึงพอใจของผู้พักอาศัย พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อระบบการจัดการงานพัสดุไปรษณีย์ของนิติบุคคลอาคารชุด มีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 25.16

References

Supattha Marketteer. (2563, มกราคม). Kerry กับการเติบโตก้าวกระโดดในเมืองไทย … จนใครๆ ก็อยากลงทุน. Marketteer. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://marketeeronline.co/archives/140913. (วันที่ค้นข้อมูล: 27 มกราคม 2564).

SILVERMAN. (2564, มกราคม). รวมปัญหาพัสดุ เรื่องไม่เล็กของชาวคอนโด. SILVERMAN. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://affinity.co.th/customer-journey-map-สำคัญอย่างไร /?lang=th. (วันที่ค้นข้อมูล: 6 มกราคม 2564).

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2556). การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชซิ่ง.

Ourgreenfish. (2561, กันยายน). Customer Journey คืออะไร ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน. Ourgreenfish. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://blog.ourgreenfish.com/ th/customer-journey-คืออะไร. (วันที่ค้นข้อมูล: 27 มกราคม 2564).

Affinity Solution. (2560, พฤศจิกายน). Customer Journey Map สำคัญอย่างไร. Affinity Solution. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://affinity.co.th/customer-journey-map-สำคัญอย่างไร /?lang=th. [วันที่ค้นข้อมูล: 27 มกราคม 2564].

สุภารัตน์ อ่ำชุ่ม. (2559). ปัญญหาการบริหารงานพัสดุของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ธิญาดา ใจใหมคร้าม. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษาคลังสินค้า 2 ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประภากร อุ่นอินทร์. (2552). การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับโรงงานอิเล็กทรอนิกส์. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโซ่อุปทานแบบบูรณาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัญฑิต.

สุริยัน นิลทะราช และ สมบูรณ์ ชาวชายโขง. (2563, 1 เมษายน). การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานพัสดุ เพื่อการควบคุมวัสดุ. วารสารบัณฑิตศึกษา, เล่มที่ 76, ปีที่ 17, หน้า 191–201.

อชิระ.เมธารัชตกุล. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรณวิภา ชื่นเพ็ชร. (2560). การวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วยเทคนิค ABC ANALYSIS กรณีศึกษา บริษัท AAA จำกัด. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชรินทร์พร นนท์ศิลา และ จิตรา รู้กิจการพานิช. (2558, 1 กรกฎาคม). การปรับปรุงการบริหารคลังพัสดุสำหรับหน่วยบริการซ่อมรถฟอร์กลิฟต์. วารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, เล่มที่ 3, ปีที่ 26, หน้า 63–70.

สุนันทา ศิริเจริญวัฒน์. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพการจดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

พัชรศักดิ์ ภาวนาภิญโญ. (2552). การปรับปรุงระบบควบคุมการจัดวางพัสดุของคลังพัสดุหลัก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโซ่อุปทานแบบบุูรณาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31