การจัดการน้ำเสียในอุตสาหกรรมกลั่นแอลกอฮอล์
คำสำคัญ:
การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่, กระบวนการกลั่นแอลกอฮอล์, การเติมเชื้อจุลินทรีย์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาปริมาณการปล่อยน้ำเสียจากกระบวนการกลั่นแอลกอฮอล์ซึ่งมีปริมาณเฉลี่ยวันละ 325 ลูกบาศก์เมตร ที่มีแนวโน้มส่งผลทำเกิดปริมาณน้ำเสียสะสมภายในบ่อบำบัดน้ำเสียล้นออกสู่ชุมชนรอบโรงงานได้ โดยปัจจุบันมีการดำเนินการในการดูแลระบบน้ำเสียในบ่อบำบัดด้วยการใส่ปูนขาวเพื่อดับกลิ่น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละ 96,660 บาท ด้วยการประยุกต์ใช้หลัก 3 R ที่เน้นหลักการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) กับกระบวนการใช้เชื้อจุลินทรีย์ ประสิทธิภาพสูงสำหรับการปรับสภาพน้ำในบ่อบำบัดน้ำเสียให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ใช้วิธีการนำหัวเชื้อจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูงไปหมักเพื่อขยายพันธ์จากนั้นจึงใส่ลงในบ่อบำบัดน้ำเสีย แล้วนำมาบำบัดผ่านกระบวนการทั้ง 8 บ่อบำบัด ด้วยการเติมเชื้อจุลินทรีย์ที่หมักทุกวันลงในบ่อที่ 1, 2, 4 และ 8 ในปริมาณบ่อละ 70, 20, 20,20 ลิตรตามลำดับ ก่อนนำกลับไปใช้ใหม่หลังจากบ่อที่ 8 ซึ่งผลลัพธ์ทำให้ ค่าความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (BOD) ลดลง 99.38% ค่าความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (COD) ลดลง 98.70% ค่าความเป็นกรด-ด่าง (PH) เพิ่มขึ้น 166.74% ของแข็งที่ละลายทั้งหมด (TDS) ลดลง 98.08% ค่าไนโตรเจนทั้งหมด (TKN) ลดลง 99.03% ค่าฟอสฟอรัสทั้งหมด (TP) เพิ่มขึ้น 0.75 มิลลิกรัมต่อลิตร ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (SS) ลดลง 99.67% ซึ่งค่าเหล่านี้ลดลงเป็นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับผลก่อนการปรับสภาพน้ำและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของการควบคุม โดยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในครั้งแรกเพียงเล็กน้อย แต่ก็สามารถลดการใช้ปูนขาวลงได้ถึง 50% จึงสรุปได้ว่าการลงทุนโดยการนำเชื้อจุลินทรีย์มาดำเนินการปรับสภาพน้ำในบ่อบำบัดน้ำเสีย เพื่อนำน้ำในบ่อบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ มีความสัมฤทธิ์ผลเป็นอย่างดี
References
เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์. (2539). การบำบัดน้ำเสีย (Wastewater Treatment). พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มิตรนราการพิมพ์.
วรพจน์ กนกกันฑพงษ์. (2548). มองต่างมุมกับเทคโนโลยี EM วารสาร มฉก.วิชาการ 90, ปีที่ 9 ฉบับที่ 17 กรกฎาคม – ธันวาคม 2548 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
วรมน สุนทรภัค. (2550). ประสิทธิภาพของน้ำสกัดชีวภาพในการบำบัดน้ำเสีย กรณีศึกษารางลำเลียงน้ำเสียของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, การจัดการสิ่งแวดล้อม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Tumcivil.com. (2560). ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://engfanatic.tumcivil.com/engfanatic/article/34. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 6 มกราคม 2563 ).