การเพิ่มประสิทธิภาพในงานก่อสร้าง บ้านพักอาศัยชั้นเดียว

ผู้แต่ง

  • ไพรัตน์ จันที
  • ศักดิ์ชาย รักการ
  • จีรวัฒน์ ปล้องใหม่

คำสำคัญ:

การเพิ่มประสิทธิภาพในงานก่อสร้าง, การก่อสร้างบ้านพักอาศัยชั้นเดียว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานก่อสร้าง โดยมุ่งเน้นในด้านการลดระยะเวลาลงจาก เดิมที่มีการส่งมอบงานที่ล่าช้าในการทำการก่อสร้างที่ผ่านมาที่เกิดความล่าช้า 22 วัน จากกำหนดการ 75 วัน โดย ทำการค้นหาสาเหตุและเพื่อปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการก่อสร้างบ้านพักอาศัยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาในแต่ละขั้นตอนในกระบวนการก่อสร้างบ้านพักอาศัย โดยวิเคราะห์หาสาเหตุจากปัญหาการส่งมอบงานที่ล่าช้าจำนวน 24 หลังที่เกิดความล่าช้า ทำการตรวจสอบหาสาเหตุ ของความล่าช้าในแต่ละกระบวนการก่อสร้างและเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนของระยะเวลาจากกระบวนการก่อสร้าง แสดงกระบวนการที่ก่อให้เกิดความล่าช้าของปัญหา ความล่าช้าจากกระบวนการก่ออิฐฉาบปูนที่เกิดขึ้น 63% ความล่าช้าจากการก่อสร้างหลังคาที่เกิดขึ้น 19% ความล่าช้าในการตัดเหล็ก-ดัดเหล็กสำหรับงานโครงสร้างที่ เกิดขึ้น 18% เพื่อวางมาตรการแก้ไขปัญหาในก่อสร้างบ้านพักอาศัย โดยการศึกษาข้อมูลคุณสมบัติทางวิศวกรรม ของวัสดุที่จะนำมาทดแทนการก่อสร้างในกระบวนการที่เกิดความล่าช้า และวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ทาง วิศวกรรม

ผลการดำเนินการปรับปรุงสามารถลดระยะเวลาในการก่อสร้างลงไปได้การเกิดความล่าช้าในการก่อสร้าง เกิดจากการก่อสร้างผนังลดเวลาการก่อสร้างลงได้ 48% และการก่อสร้างหลังคาลดเวลาการก่อสร้างลงได้ 75% การตัดเหล็ก-ดัดเหล็กสำหรับงานโครงสร้างลดเวลาการก่อสร้างลงได้ 75% จากเดิมมีการส่งมอบงานล่าช้าเฉลี่ย 4.4% จากสัญญาว่าจ้างต่อการก่อสร้างบ้านหนึ่งหลัง หลังการปรับปรุงสามารถลดระยะเวลาในการก่อสร้างจาก สัญญาว่าจ้างลงไปได้ 1.7% ต่อการก่อสร้างบ้านหนึ่งหลัง และคิดเป็นมูลค่าในด้านแรงงานที่ลดเวลาการทำงานลง ไปเท่ากับ 14,220,000 บาทต่อปี

References

วิบูลย์ สุรสาคร. (2555). การใช้หลักการ ลีน คอนสตรั๊คชั่นในการปรับปรุงการออกแบบและก่อสร้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการก่อสร้าง [ออนไลน์] เข้าถึงได้ที่ www.thaiengineering.com (วันสืบค้นข้อมูล: 9 มกราคม 2564).

ดำรงค์ ศิริเขต (2554). ปัจจัยการตัดสินใจผู้บริโภคในการเลือกซื้อบ้านพักอาศัยที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปวิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ธนาคารไทยพาณิชย์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ และธุรกิจ. (SCBEIC) Economic Intelligence Center[ออนไลน์] . เข้าถึงได้จาก: https://www.scbeic.com/th/detail/product/7781. (วันสืบค้นข้อมูล: 1 มกราคม 2564).

ยงยศ ดรคํา. (2543). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการแรงงานในสาขาก่อสร้างของ ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมและการ บริหารงานก่อสร้าง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ศรยุทธ กิจพจน์. (2545). หลักการบริหารและจัดการงานก่อสร้าง. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

ศศิพร สายสุทธ์ิ. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจก่อสร้างและการวิเคราะห์ธุรกิจ เพื่อวางแผนพัฒนาองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต กรณีศึกษาห้างหุ้นส่วนจำกัด พรพิมลฮาร์ดแวร์.วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศิริวรรณ เสรรีัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสาร.

ศุภกริช เขาแก้ว, ดำรงสิน พิชญ์พันธ์ และวิธวัฒน์ ลีลาวนาชัย. (2554). ทัศนคติของ ผู้บริหารโครงการที่มีต่อวิธีการเร่งงานในโครงการก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ศุภณัฐ วัฒนสินศักดิ์. (2556) การเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการก่อสร้างแบบดั้งเดิม และการ ก่อสร้างแบบผนังหล่อประกอบเพื่อพัฒนานวัตกรรมการก่อสร้างของหมู่บ้านจัดสรร วิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

สืบตระกูล สมบัติทิพย์. (2554) การบริหารจัดการของอาคารที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัครวัฒน์ ตรัยจิรพงศ์. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพของการก่อสร้างอาคารด้วยระบบผนังภายนอกอาคารสำเร็จรูป. สาขาวิชาการจัดการโครงการก่อสร้าง วิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30