การลดของเสียในกระบวนการผลิตแชมพูสูตร A ด้วยการออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม

ผู้แต่ง

  • ธีรวัฒน์ เทพชู
  • ศักดิ์ชาย รักการ
  • พจนีย์ ศรีวิเชียร
  • จีรวัฒน์ ปล้องใหม่

คำสำคัญ:

การทดลองเชิงวิศวกรรม 2k full factorial, การลดของเสีย, การผลิตแชมพู

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยฉบับนี้ได้ทำการศึกษาปัญหาการลดของเสียในกระบวนการผลิตแชมพูสูตร A  ซึ่งพบของเสียที่มีสูงถึง 15.0 เปอร์เซ็นต์ต่อการผลิตหนึ่งครั้ง จากข้อมูลจำนวนของเสียรวมภายในเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 พบปัญหาของเสียในการผลิตแชมพูสูตร A ได้แก่ 1. เป็นเม็ด/ลิ้ม 2. เป็นก้อน 3. ระเหยจากการฮีต 4. เป็นเนื้อฟอง ซึ่งได้วิเคราะห์สาเหตุที่เกิดของเสียในกระบวนการผลิตแชมพูสูตร A ที่มีสาเหตุมาจากเครื่องจักรที่มีรอบใบกวนไม่เหมาะสมกับการผลิตและวัตถุดิบเกิดการปะป่นหรือจับตัวกันเป็นก้อนจึงทำให้เกิดของเสีย โดยการกำหนดประยุกต์ใช้วิธีในการแก้ไข ประกอบด้วย การแก้ไขด้านเครื่องจักรโดยการใช้หลักการออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม ด้วยการทดสอบแบบ 2k full factorial และการแก้ไขทางกายภาพ  โดยกำหนดปัจจัยในการทดสอบ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ อุณหภูมิ ใบกวน 1 ใบกวน 2 ชั่วโมงการทำงาน จำนวนที่ใช้ทดสอบทั้งหมดรวม 40 ครั้ง จากผลการทดลองพบว่า มี 1 ปัจจัยส่งผลเชิงเดียวเท่านั้น คือ ใบกวน 1 ไม่มีปัจจัยด้านอื่นร่วมจึงทำการแก้ไขและกำหนดรอบใบกวน 1 ให้เหมาะสม ส่วนการการแก้ไขทางกายภาพ ได้ทำการออกแบบจัดทำตะแกรงที่มี Ø 40 cm. ขนาดตาข่าย Ø 0.4 cm. ใช้วัสดุ (STAINLESS 304) มาทำการคัดกรองวัตถุดิบก่อนนำไปทำการผลิต ซึ่งผลของการแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้ ทำให้พบว่าสามารถลดจำนวนของเสียจากปัญหาเม็ด เหลือเพียง 0.52 เปอร์เซ็นต่อเดือน

References

ฉัตรชัย ฉายะรถี. (2563). การลดของเสียในกระบวนการชุบโครเมี่ยมด้วย วิธีการออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

ธีรนันท์ สุธาธรรมรัตน์. (2562). ลดความผิดพลาดที่ทำให้เกิดของเสียในกระบวนการผลิตแผงหน้าต่างอลูมิเนียมระบบผนังกระจกสำเร็จรูป. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปาพจนี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (2561).การออกแบบการทดลองเพื่อลดของเสียในกระบวนการฉีดพลาสติกของชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรชัย มามี และศศิธร พ่วงจ่าง. (2554). การลดของเสียในกระบวนการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา บริษัท ควอลิตี้ แอสเซ็มบลี่ (ไทยแลนด์) จำกัด. ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

วรุตม์ สุจริตจันทร์. (2561). การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนหัวฉีดน้ำมัน. สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อรรคพล ดวงสีแสน. (2555). การลดของเสียในการผลิตเบาะรถยนต์ด้วยการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ กรณีศึกษาโรงงานผลิตเบาะรถยนต์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

อุดม ลพสุนทร. (2559). การลดของเสียในกระบวนการประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ลงบนแผ่นพีซีบี. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Blockdit. (กรกฎาคม 20, 2020). ความสำคัญและที่มาของงานวิจัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.blockdit.com/posts/5f15112a8112ff0cd5780223. (วันสืบค้นข้อมูล: 20 กรกฎาคม 2563).

Now26tv. (กรกฎาคม 06, 2021). ความสำคัญและที่มาของงานวิจัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.now26.tv/hair-care-market-2021-size-share. (วันสืบค้นข้อมูล: 20 สิงหาคม 2564).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30