การบำรุงรักษาเพิ่มประสิทธิภาพสายการผลิตชุดสายไฟในรถยนต์
คำสำคัญ:
การปรับปรุงประสิทธิภาพ, การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน, การซ่อมบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาปัญหาของการจัดการลดอัตราการหยุดของเครื่องจักร (Downtimes Rate) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพสายการผลิตชุดสายไฟชิ้นส่วน Engine room มีการสูญเสียโอกาสการผลิตที่ 656 ชิ้น/เดือน คิดเป็นมูลค่าสูญเสียโอกาสในการผลิต 3,273,440 บาท/เดือน ซึ่งเครื่องจักรที่พบค่าเวลาในการหยุดเครื่องจักรขัดข้องนอกแผนมากที่สุด 3 ลำดับ คือ 1) Conveyor 63 ชั่วโมง/ปี 2) Grommet 29.67 ชั่วโมง/ปี และ 3) Sub ASSY 29.08 ชั่วโมง/ปี การศึกษาเริ่มจากการดำเนินการศึกษารวบรวมข้อมูล Downtime เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลค่าเวลาเฉลี่ยระหว่างการเสียหาย (Mean Time Between Failures: MTBF) และค่าเวลาเฉลี่ยในการซ่อมแซม (Mean Time to Repair: MTTR) ในการวิเคราะห์คาดการณ์ชิ้นส่วนเครื่องจักรตามปริมาณการผลิตได้ หลังจากนั้นตรวจติดตามสภาพเครื่องจักรและรวมถึงจัดทำระบบเอกสารมาตรฐานต่าง ๆ ประกอบกับการจัดทำตารางมาตรฐานอายุการใช้งานชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เสียหายของเครื่องทั้ง 3 ตัว ในการทำแผนการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันที่เหมาะสมที่สุด จากผลการศึกษาในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา พบว่า เครื่องจักรทั้ง 3 ตัวมี Downtime ลดลงเป็น 1) Conveyor 30 ชั่วโมง/ปี 2) Grommet 15 ชั่วโมง/ปี 3) Sub ASSY 22 ชั่วโมง/ปี การปรับปรุงประสิทธิภาพเวลาในการหยุดเครื่องจักรเฉลี่ยดีขึ้น 42% นอกจากนี้ในการวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) จากการซ่อมบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ พบว่า สามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 12 วัน ทำให้ผลการดำเนินงานตามการวิจัยครั้งนี้มีประสิทธิภาพสูงสุดกับองค์กรเป็นอย่างมาก
References
วันนา ยงพรศาลภพ. (2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.krungsri.com/ th/research /industry/industry-outlook/Hi-tech-Industries /Automobiles/IO/io-automobile-20. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 15 ธันวาคม 2563).
Cogent Engineering. (2021). Manufacturing productivity analysis by applying overall equipment effectiveness metric in a pharmaceutical industry. [Online]. Available: https://www.tandfonline.com/doi/pdf/10.1080/ 23311916.2021.1953681. (Retrieve: 15 March 2021).
ประดิษฐ์ หมู่เมืองทอง. สุชญาณ หรรษสุข. (2556). การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน. ซีเอ็ดยูเดชั่น หน้า 13–34.
อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. (2561). งานบำรุงรักษาทวีผลโดยทุกคนมีส่วนร่วม. ซีเอ็ดยูเดชั่น หน้า 13–35.
ศิริพร วันฟั่น. (2556). การบำรุงรักษาเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (ตอนที่ 2). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thailandindustry.com/indust_newweb/articles_ preview.php?cid=19299. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 20 ธันวาคม 2563).
ประโยชน์ ยลวิลาศ. ศุภรัชชัย วรรัตน์. (2555). การนำระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกันมาใช้เพื่อลดอัตราการเสียของอุปกรณ์เชื่อมต่อในสายการผลิตกล้องถ่ายรูปดิจิตอล. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, ประจำปี 2555 วันที่ 17-19 ตุลาคม 2555 ชะอำ เพรชบุรี หน้า 2057-2063.
วสันต์ จันทร์นวล. ศุภรัชชัย วรวรัตน์. (2560). การลดอัตราชำรุดเครื่องจักร กรณีศึกษางานซ่อมบำรุงในสายการผลิตเครื่องประดับและอัญมณี. สารนิพนธ์, สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปิยฉัตร จันทิวา. วรรณลักษณ์ เหล่าทวีทรัพย์ และสุพิชชา ชีวพฤกษ์. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตจากการวิเคราะห์การซ่อมบำรุงฉุกเฉินเมื่อเครื่องจักรขัดข้อง. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 25(3), 485-492.
ธีรวัช บุณยโสภณ สักรินทร์ อยู่ผ่อง และ ปรีดา อัตวินิจตระการ. (2557). การการพัฒนารูปแบบการบริหารงานซ่อมบำรุงรักษาในอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม. กรณีศึกษา โรงงานเครื่องปรับอากาศ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 24(3), 657-666.
ธีระศักดิ์ พรหมเสน. (2556). การบำรุงรักษาตามสภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตกรณีศึกษา โรงงานผลิตเครื่องดื่ม. วิทยานิพนธ์, สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.