การผลิตสื่อวีดิทัศน์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เรื่อง “ศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลน บางขุนเทียน”

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิวา เสาร์สิงห์
  • ภคพงษ์ แก่นไม้อ่อน
  • เตชินท์ แซ่เตีย

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, ศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนบางขุนเทียน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 294 คน จากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Yamane กำหนดไว้ 400 คน  เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ  2) แบบประเมินความพึงพอใจ  สำหรับค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราค มีค่าเท่ากับ .78   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน  อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15  ผลประเมินความพึงพอใจสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18

References

ปรีชา คำมาดี และสมพงษ์ อัศวริยธิปัติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มเยาวชน ในจังหวัดชลบุรี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุชาติ อินกล่ำ. (2560). รายงานการวิจัย การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนหยงสตาร์ ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง .ตรัง: วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง.

สำนักงานเลขานุการวุฒิสภา. (2563). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ กรณีศึกษา ทรัพยากรป่าชายเลน เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานเลขานุการวุฒิสภา.

ศรัณย์ ฐิตารีย์ และสุรศักดิ์ โตประสี. (2560). “การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ”. วารสารสารสนเทศ. 16(1).

อิทธิพล โกมิล. (2553). โครงการวิจัย รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: กรณีศึกษาบ้านวังน้ำมอก อําเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย. กรุงเทพฯ: โครงการรับทุนอุดหนุนจากสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวง วัฒนธรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30