การสร้างธุรกิจเพื่อสังคมในรูปแบบการบำบัดพฤติกรรมของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า โดยใช้แอพพลิเคชั่น "Sati"
คำสำคัญ:
การสร้างธุรกิจเพื่อสังคม, การบำบัด, พฤติกรรมของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า, แอพพลิเคชั่น Satiบทคัดย่อ
ภาวะโรคซึมเศร้า เป็นการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่ได้รับการรักษาอาการอาจจะติดต่อกันเป็นเดือนซึ่งมักเกิดจากเมื่อมีความเครียดสะสมอยู่นานๆ สารเคมีในร่างกายและสมองลดจำนวนลงหรือทำหน้าที่ไม่ปกติ ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ เช่นโรคความดัน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยหรือติดตั้งเชื่อได้ง่าย ตามด้วยอารมณ์ ท้อแท้ ซึมเศร้า สาเหตุ/ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นประกอบด้วย ความเครียดสะสม การสูญเสียครั้งใหญ่ สภาพจิตใจที่เกิดขึ้นจาการเลี้ยงดู ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ราบรื่น และความเสี่ยงทางพันธุกรรม อาการภาวะโรคซึมเศร้า มีอารมณ์ซึมเศร้า อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง รู้สึกตนเองไร้ค่า รู้สึกสิ้นหวัง เบื่ออาหารหรือนอนไม่หลับหรือหลับมากไป คิดอยากตายหรือทำร้ายตัวเอง ความสนใจในกิจกรรมต่างๆแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก สมองไม่ชัดเจน ใจลอย ลังเลใจไปหมด กระวนกระวายอยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง ภาวะโรคซึมเศร้า สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ 1. โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว และ 2. โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือเรียกว่า ไบโพลาร์ ผู้ป่วยมีการอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไปจนเกิดผลเสีย วิธีการรักษาโดยการ ใช้ยาด้านซึมเศร้า ใช้การบำบัด รักษาด้วยไฟฟ้า และปรับมุมมองเปลี่ยนความคิด ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันภาระซึมเศร้าที่ตายตัว แต่หากสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยควรจะควบคุมอารมณ์ ความเครียด ยืดหยุ่น และนับถือตนเอง พยายามพูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อน หรือแอพพลิเคชั่น Sati ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ที่มีภาวะโรคซึมเศร้า หรือผู้ที่ไม่ได้เป็นภาวะโรคซึมเศร้าก็สามารถเข้ามาปรึกษาได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และกิจการเพื่อสังคม โดยมีจิตแพทย์ นักจิตวิทยา อาสาสมัครที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว ที่จะช่วยค่อยรับฟังเพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเครียดรู้สึกว่ามีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับแชร์ความรู้สึก และรู้สึกว่ายังมีคนคอยรับฟังอย่างเข้าใจ และสำคัญที่สุดคือควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง ควรเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอระยะยาว เพื่อป้องกันไม่ให้ภาระซึมเศร้าเกิดซ้ำ
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2566).กรมสุขภาพจิต เผย ไทยป่วยซึมเศร้าเพิ่ม 2 เท่า แนะสร้างความเข้าใจ ปรึกษา
จิตแพทย์ ป้องกันก่อนเจ็บป่วย. สืบค้นเมื่อวันที่ 27/5/2567, จาก https://www.thaihealth.or.th/348453-2/.
กลุ่มพัฒนาระบบข้อมูล กองแผนงาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ข้อมูลประชากรวัยทำงาน
ปีงบประมาณ 2566. ฐานข้อมูลกลาง กรมอนามัย.
คันธรส สุขกุล, และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2562). ภาวะซึมเศร้าในประชากรวัยแรงงาน: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางการ
ดูแล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(2), 229-238.
ครองรัตน์ ดุลลาพันธ์ (2561). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และปัจจัยทางจิตที่พยากรณ์ภาวะโรคซึมเศร้า.
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม)). สถาบันณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธนิสา ทวิชสี และบุญธิดา เสงี่ยมเนตร.(2565). วิกฤติโควิด 19 กับปัญหาสุขภาพจิตในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 1/6/2567, จาก https://thaipublica.org/2021/06/pier-67/.
นันทภัค ชนะพันธ์. (2563). ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า: บทบาทพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วย. วารสาร
พยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 32(1), 75-88.
พสุ เดชะรินทร์. (2562). ธุรกิจกับการตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพจิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 1/6/2567, จาก
https://www.bangkokbiznews.com/ columnist/999569.
ศักดิ์สิทธิ์ รอมไธสง, และ นริสา วงศ์พนารักษ์. (เมษายน 2024). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะซึมเศร้ากับการ
ปรับตัว ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยทำงาน. (จงกลณี ตุ้ยเจริญ, บ.ก.) วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล.
สุขภาพคนไทย. (2566). ภาวะซึมเศร้า ไม่ใช่เเค่เรื่องของ “เด็ก” แต่เป็นเรื่องของ “เรา”ที่ร่วมกันป้องกันได้. สืบค้นเมื่อวันที่
/5/2567, จาก https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=154.
โรงพยาบาลนวเวช. (2565). อาหารต้านอาการซึมเศร้า ปัดเป่าอารมณ์ด้านลบ. สืบค้นเมื่อวันที่ 27/5/2567, จาก
https://www.navavej.com/articles/1.
โรงพยาบาลมนารมย์. (2565). การเยียวยาจิตใจตัวเองเมื่อเป็นโรคซึมเศร้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 29/5/2567, จาก
https://www.manarom.com/blog/Healyourself_when_suffering_from_depression.html.
MedPark Hospital. (2565). โรคซึมเศร้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 31/5/2567, จาก https://www.medparkhospital.com/
disease-and treatment/depression?utm_medium=OrganicPost&utm_source=Facebook
SE THALAND. (2564). SATI APP พื้นที่ปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนเรื่องราวและบริการรับฟังอย่างเข้าใจ ไม่ตัดสิน | SE
STORIES ตอนที่ 8. เท่า. สืบค้นเมื่อวันที่ 29/5/2567, จาก https://www.sethailand.org/resource/
se-stories-sati-app/.
SME Thailand.(2562). ป่วยใจนักก็พักก่อน! มาเปลี่ยนความเศร้าให้เป็นธุรกิจ ด้วยไอเดียที่คุณก็ทำได้. สืบค้นเมื่อวันที่
/6/2567, จาก https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/5060.html.
Techsauce Team.(2565). สตาร์ทอัพด้าน Mental health มีแนวโน้มได้รับความนิยมในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 1/6/2567, จาก https://techsauce.co/news/startup-mental-health-boom-news-change.
Thai PBS Policy watch จับตาอนาคตประเทศไทย. (2567). คาดคนไทยป่วยสุขภาพจิตมากกว่าผู้รับการรักษา 5 เท่า.
สืบค้นเมื่อวันที่ 27/5/2567, จาก https://policywatch.thaipbs.or.th/article/life-35.
The Cloud. (2564). Sati App แอปพลิเคชันเชื่อมผู้มีปัญหาสุขภาพจิตกับผู้ฟังอาสาสมัคร ที่อยากแก้ปัญหาสุขภาพจิตอย่าง
ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อวันที่ 27/5/2567, จาก https://readthecloud.co/sati-app/.
True ID. (2565). รวมแอปฯ ปรึกษาจิตแพทย์สำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้ต้องการคำปรึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 1/6/2567,