แนวโน้มของปริมาณน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคตที่คาดการณ์ได้จากแบบจำลอง PRECIS Scenario A2 & B2 ภายหลังปรับแก้ด้วยค่าปรับแก้เฉลี่ยรายเดือนเชิงพื้นที่โดยวิธี Kriging

Main Article Content

รัชเวช หาญชูวงศ์
วลัยรัตน์ บุญไทย
ศิริลักษณ์ ชุ่มชื่น

บทคัดย่อ

เนื่องจากการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในอนาคตจากแบบจำลองภูมิอากาศภูมิภาค PRECIS Scenario A2 & B2 ยังคงมีความคลาดเคลื่อนเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำฝนที่ตรวจวัดได้จากสถานีวัดน้ำฝนตามช่วงเวลาและพื้นที่ ซึ่งเป็นผลเนื่องจากอิทธิพลของฤดูกาลและลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาค่าปรับแก้เฉลี่ยรายเดือนเชิงพื้นที่รายกริดขนาด 1 กม. x 1 กม. ในแต่ละเดือน โดยประยุกต์ใช้ผลการวิเคราะห์ค่าปรับแก้รายเดือน ณ ตำแหน่งสถานีวัดน้ำฝน 265 สถานี ในบทความ “การวิเคราะห์หาค่าปรับแก้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่คาดการณ์ได้จากแบบจำลอง PRECIS Scenario A2 & B2 โดยใช้ข้อมูลจากสถานีวัดน้ำฝน” มาใช้วิเคราะห์หาค่าปรับแก้เฉลี่ยรายเดือนเชิงพื้นที่รายกริดขนาด 1 กม. x 1 กม. ในแต่ละเดือน โดยวิธี Simple Kriging, Ordinary Kriging, Universal Kriging, Co-Simple Kriging, Co-Ordinary Kriging และ Co- Universal Kriging ตามลำดับ ผลการคัดเลือกวิธีการปรับแก้ที่เหมาะสมพิจารณาจากผลการ Cross-validation พบว่าปริมาณน้ำฝนที่คาดการณ์ได้จากแบบจำลอง PRECIS Scenario A2 วิธี Simple Kriging เหมาะสำหรับใช้ปรับแก้เดือน มกราคม และ กุมภาพันธ์ วิธี Ordinary Kriging เหมาะสำหรับใช้ปรับแก้เดือน เมษายน วิธี Universal Kriging เหมาะสำหรับใช้ปรับแก้เดือน กรกฎาคม วิธี Co- Simple Kriging เหมาะสำหรับใช้ปรับแก้เดือน สิงหาคม พฤศจิกายน และ ธันวาคม, วิธี Co- Ordinary Kriging เหมาะสำหรับใช้ปรับแก้เดือน พฤษภาคม มิถุนายน กันยายนและ ตุลาคม วิธี Co- Universal Kriging เหมาะสำหรับใช้ปรับแก้เดือน มีนาคม ขณะที่แบบจำลอง PRECIS Scenario B2 วิธี Simple Kriging เหมาะสำหรับใช้ปรับแก้เดือน พฤศจิกายน และ ธันวาคม วิธี Ordinary Kriging เหมาะสำหรับใช้ปรับแก้เดือน กรกฎาคม และ กันยายน, วิธี Co- Simple Kriging เหมาะสำหรับใช้ปรับแก้เดือน กุมภาพันธ์ สิงหาคม และ ตุลาคม วิธี Co- Ordinary Kriging เหมาะสำหรับใช้ปรับแก้เดือน มกราคม เมษายน และ มิถุนายน, วิธี Co- Universal Kriging เหมาะสำหรับใช้ปรับแก้เดือน มีนาคม และ พฤษภาคม ตามลำดับ ผลของค่าปรับแก้เฉลี่ยรายเดือนเชิงพื้นที่รายกริดขนาด 1 กม. x 1 กม. ในแต่ละเดือน ถูกใช้ในการปรับแก้ปริมาณน้ำฝนในอนาคตช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2556-2612 ที่ได้จากแบบจำลองภูมิอากาศภูมิภาค PRECIS Scenario A2 & B2 ในพื้นที่ศึกษา 20 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม นครพนม ร้อยเอ็ด สกลนคร ศรีษะเกษ นครราชสีมา หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ชัยภูมิ มุกดาหาร สุรินทร์ ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น และ เลย เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของปริมาณน้ำฝนในอนาคต ผลการศึกษาพบว่าปริมาณน้ำฝนที่คาดการณ์ได้จากแบบจำลอง PRECIS Scenario A2 ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2556-2612 มีแนวโน้มปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี, ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในช่วงฤดูฝน และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในช่วงฤดูแล้ง เพิ่มขึ้น 7%, 8%, และ 5% ตามลำดับ ส่วน Scenario B2 เพิ่มขื้น 10%, 12% และลดลง 1% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับในช่วงปีฐานระหว่างปี พ.ศ. 2523-2555

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทัพยากรน้ำ, “โครงการความเป็นไปได้และความถี่ของการเกิดอุทกภัย/ดินถล่มจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ/ภาวะโลกร้อน: พื้นที่ศึกษาภาคเหนือ”, 2557, กรุงเทพฯ.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, “โครงการเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ศึกษาด้านผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในอนาคตและการปรับตัวของภาคส่วนที่สำคัญ”, 2554, กรุงเทพฯ.

ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, “การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศอนาคตสาหรับประเทศไทยและภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้โดยแบบจาลองสภาพภูมิอากาศ PRECIS และ ECHAM4”, 2552, กรุงเทพฯ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัณฑรีย์ บุญประกอบ จิรสรณ์ สันติสิริสมบูรณ์ จารุทัศน์ สันติสิริสมบูรณ์ วรัญญู วงษ์เสรี พัชมณ แก้วแพรก กัมพล พรหมจิระประวัติ สิริวรินทร์ เพชรรัตน์ ยอด สุขะมงคล ปวันรัตน์ อักษรสิงห์ชัย ขวัญฤทัย ศรีแสงฉาย, “ภาพฉายอนาคตการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทย จากผลของการย่อส่วนแบบจำลองภูมิอากาศโลก GFDL-R30”, 2553, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

รัชเวช หาญชูวงศ์, วลัยรัตน์ บุญไทย, ศิริลักษณ์ ชุ่มชื่น, “การวิเคราะห์หาค่าปรับแก้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่คาดการณ์ได้จากแบบจำลอง PRECIS Scenario A2&B2 โดยใช้ข้อมูลจากสถานีวัดน้ำฝน”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 20, 2558, วันที่ 8-10 กรกฎาคม 2558 จ. ชลบุรี.

ศิริลักษณ์ ชุ่มชื่น, สาคร มณีสาร, นพดล สุยะหลาน, ธนัท นกเอี้ยงทอง, ธนากร จันทร์ทิพย์, รัชเวช หาญชูวงศ์ สุดาใจ โล่ห์วนิชชัย, อนุสรณ์ หอมเมือง, วลัยรัตน์ บุญไทย, สุณัฐพงศ์ สูงสุมาลย์, “แผนงานวิเคราะห์ประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวงกรณีศึกษา : การประเมินปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง”, 2552, กรมฝนหลวงและการบินเกษตร.

P. Goovaerts. Geostatistics for Natural Resources Evaluation, Oxford, New York, N.Y., 1997, pp. 483.