การลดความสูญเสียในกระบวนการบรรจุดินสอสี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการบรรจุดินสอสี โดยทำการวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนผังแสดงเหตุและผล เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเสียในกระบวนการ โดยพบความสูญเสีย 3 ด้าน คือ ความสูญเสียด้านการรอคอย ความสูญเสียด้านการเคลื่อนไหว และความสูญเสียด้านการผลิตของเสีย โดยความสูญเสียด้านการรอคอยและด้านการเคลื่อนไหว เลือกพิจารณาที่วิธีการทำงานและพื้นที่การทำงาน ซึ่งเกิดจากการจัดวางลังบรรจุดินสอสีไม่เหมาะสม และการระบุตำแหน่งลังและกล่องลำเลียงไม่ชัดเจน ทำให้พนักงานใช้สายตามองหาดินสอสีในลัง และความสูญเสียด้านการผลิตของเสีย เลือกพิจารณาที่ตัวระบุตำแหน่งของเครื่องบรรจุดินสอสีขาดประสิทธิภาพ จากความสูญเสียดังกล่าวทั้ง 3 ด้าน จึงได้ทำการปรับปรุงตำแหน่งผังการทำงานในกระบวนการบรรจุดินสอสีลงกล่อง โดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีการจัดการคลังสินค้าด้วยการจัดเรียงตามอัตราในการใช้งาน และปรับปรุงตัวระบุตำแหน่ง โดยประยุกต์ใช้หลักการออกแบบเชิงวิศวกรรม ผลจากการดำเนินงานวิจัย พบว่าสามารถลดความสูญเสียด้านการรอคอย โดยดินสอสี 12 สี จากเดิมใช้เวลา 0.93 วินาทีต่อกล่อง ลดเหลือ 0.54 วินาทีต่อกล่อง คิดเป็นลดลงร้อยละ 41.94 หรือจากเดิมใช้เวลา 579 วินาทีต่อรอบ ลดเหลือ 338 วินาทีต่อรอบ คิดเป็นลดลงร้อยละ 41.62 ส่วนดินสอสี 24 สี จากเดิมใช้เวลา 3.42 วินาทีต่อกล่อง ลดลงเหลือ 1.87 วินาทีต่อกล่อง คิดเป็นลดลงร้อยละ 45.03 หรือจากเดิมใช้เวลา 1148 วินาทีต่อรอบ ลดเหลือ 629 วินาทีต่อรอบ คิดเป็นลดลงร้อยละ 45.21 ลดความสูญเสียด้านการเคลื่อนไหว โดยดินสอสี 12 สี จากเดิมใช้ระยะทาง 254.33 เมตร ลดลงเหลือ 109.61 เมตร คิดเป็นลดลงร้อยละ 56.90 ส่วนดินสอสี 24 สี จากเดิมใช้ระยะทาง 359.41 เมตร ลดลงเหลือ 218.33 เมตร คิดเป็นลดลงร้อยละ 39.25 และลดความสูญเสียด้านการผลิตของเสีย โดยดินสอสี 12 สี จากเดิมมีของเสียร้อยละ 0.24 ลดลงเหลือร้อยละ 0.12 คิดเป็นลดลงร้อยละ 50.00 ส่วนดินสอสี 24 สี จากเดิมมีของเสียร้อยละ 0.39 ลดลงเหลือร้อยละ 0.13 คิดเป็นลดลงร้อยละ 66.67
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร Engineering Transactions คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
References
พิรดา โป๊ะลำพงษ์, “แผนธุรกิจร้านเครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงาน”, [online] https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php, สืบค้นเมื่อ 15/07/2565.
ไรท์ติ้งอินไทย, “ประเมินผลกระทบ COVID-19 กับอุตสาหกรรมเครื่องเขียน: 1 ปีกับโรคเปลี่ยนโลก”, [online] https://writing.in.th/2021/04/11/covid-19-and-its-impact-writing-instrument-thailand/, สืบค้นเมื่อ 15/07/2565.
ประชาชาติธุรกิจ, “63 ปี เครื่องเขียน “สมใจ” จากร้านในตำนาน สู่ยุคดิจิทัล”, [online] https://www.prachachat.net/marketing/news-209849, สืบค้นเมื่อ 15/07/2565.
ประยูร เชี่ยววัฒนา, “ไคเซ็นตามวิถีโตโยต้า”, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2554.
ยุทธณรงค์ จงจันทร์, ยอดนภา เกตุเมือง, และ นรา บุริพันธ์, “การจัดสมดุลสายการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตติดตั้งดั้มพ์,” In Proc. IE Network Conference 2012’ เพชรบุรี, กรุงเทพฯ, หน้า 281-288, 2555.
คลอเคลีย วจนะวิชากร, ปานจิต ศรีสวัสดิ์, และวรัญญู ทิพย์โพธิ์, “การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา”, บทความวิจัย วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., ปีที่ 9 ฉบับที่ 2, หน้า 38-46, 2559.
กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ, “หลักการควบคุมคุณภาพ”, สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2551.
A.T. James, and D.S. Jerry, “The Warehouse Management Handbook,” 1st Ed., Mcgraw-Hill (Tx), 1998.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล, “การจัดการคลังสินค้า,” พิมพ์ครั้งที่ 1., บริษัท โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, 2560,
N.K. Shimbun, “Visual Control Systems” 1st Edition., Productivity Press, 1995.
C. A. Ortiz, and M. Park, “Visual Controls: Applying Visual Management to the Factory ” 1st Ed., Productivity Press, 2010.
สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, และ วิเชียร เบญจวัฒนาผล, “ระบบการผลิต JIT: จากหลักการสู่ภาคปฏิบัติจริง / โดย ฮิโรยูคิ ฮิราโน่”, ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2537.
บัญชา ธนบุญสมบัติ, “การออกแบบทางวิศวกรรม:การเลือกใช้วัสดุและกรรมวิธีการผลิต”, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2543.
M. F. Ashby, “Materials Selection in Mechanical Design” 5th Ed., Butterworth-Heinemann, 2017.
อัญชลี คำหนู, และ วสวัชร นาคเขียว, “การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า สำหรับโรงงานอาหารเสริมสาหร่ายสไปรูลิน่า,” งานสัมมนาทางวิชาการวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการอุตสาหกรรมปี ครั้งที่ 2, 2561.
ชญาดา ปราชเปรื่อง, และ รุ่งฉัตร ชมภูอินไหว, “การลดเวลาในการผลิตกระเทียมกลีบไทยบรรจุถุงด้วยเทคนิคการผลิตแบบลีน,” งานสัมมนาทางวิชาการวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการอุตสาหกรรมปี ครั้งที่ 1, 2560.
B. Suhardi, and P. W. Laksono, “Minimizing waste using lean manufacturing and ECRS principle in Indonesian furniture industry”, Cogent Engineering., vol 6, pp. 1-13, 2019.
B. Ali, S. Jaweed, and M. Fahad, “Implementation of Waste Assessment Matrix and Line Balancing For Productivity Improvement in a High Variety/High Volume Manufacturing Plant”, In: Proc. of ESMD, Karachi, Pakistan, pp. 68–75, 2015.
ศุภชัย ตระกูลทรัพย์ทวี, “การเขียนแบบวิศวกรรมด้วย SolidWorks”, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2552.
นันทณัฐ เยื่อบางไทร, ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์ และ วราวุธ วุฒิวณิชย์, “การประเมินสภาพฝายด้วยเทคนิควิธีดัชนีสภาพและกระบวนการวิเคราะห์ลำดับขั้น”, วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 30, ฉบับที่ 3, หน้า 389-405, 2563.