การวิเคราะห์เครือข่ายส่วนผสมและกลิ่นรสในอาหารไทย

Main Article Content

ณัฐษิมา สุรเดช
วิลาวัลย์ ยาทองคำ

บทคัดย่อ

ในการปรุงอาหารไทยนั้นกลิ่นและรสชาติเฉพาะของวัตถุดิบแต่ละชนิดถูกนำมาใช้เพื่อรังสรรค์อาหารประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้กลิ่นรสยังถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคที่มีต่อรสชาติของอาหาร ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการวิเคราะห์เครือข่ายส่วนผสมและกลิ่นรสในอาหารไทย โดยใช้เครื่องมือทางสถิติในการศึกษาลักษณะของอาหาร และสร้างกราฟเครือข่ายกลิ่นรสเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนผสมและสารประกอบกลิ่นรสในอาหาร จากผลการวิจัยพบว่าเครือข่ายกลิ่นรสของอาหารคาวและอาหารหวานมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยที่ส่วนผสมที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมักจะมีการแชร์กลิ่นรสร่วมกันเป็นจำนวนมาก และความถี่ของการใช้ส่วนผสมนั้นแสดงให้เห็นรูปแบบของการทำอาหารที่สอดคล้องกับรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารแต่ละประเภท งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจสามารถนำองค์ความรู้นี้ไปวิจัยต่อยอดและพัฒนานวัตกรรมอาหารด้านกลิ่นรสที่จะช่วยในการสร้างกลิ่นรส สูตรอาหาร หรือออกแบบผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
สุรเดช ณ. และ ยาทองคำ ว., “การวิเคราะห์เครือข่ายส่วนผสมและกลิ่นรสในอาหารไทย”, JIST, ปี 12, ฉบับที่ 2, น. 54–62, ธ.ค. 2022.
บท
บทความวิจัย Information Systems

References

กอบแก้ว นาจพินิจ, อาหารไทย โครงการตำราวิชาการราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ, กรุงเทพฯ: เสมาธรรม, 2542.

อรไท สวัสดิชัยกุล, “ชีวเคมีของพริก ตอนที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของกลิ่น,” วารสารอาหาร, ปีที่ 46, ฉบับที่ 1, หน้า 21-26, มกราคม-มีนาคม 2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้: https://kukr2.lib.ku.ac.th/kukr_es/bkn/search_detail/dowload_digital_file/20010323/159215. [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2565].

กาญจนา มหัทธนทวี, “ความสาคัญของกลิ่นรสอาหารกับการตรวจวิเคราะห์กลิ่นอาหารโดยเทคนิค Gas Chromatography-Olfactometry (GC-O),” วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1, หน้า 13-17, มิถุนายน 2552-พฤษภาคม2553. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/JFTSU/article/download/38385/31804. [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2565].

นิธิยา รัตนาปนนท์, เคมีอาหารเบื้องต้น, กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์,2563.

รัชนี ตัณฑะพานิชกุล, เคมีอาหาร, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547.

Y. Y. Ahn,S. E. Ahnert, J. P. Bagrow, and A. L. Barabási,“Flavor network and the principles of food pairing,”Sci Rep,vol. 1, no. 1, pp. 1-7, Dec. 2011, doi: 10.1038/srep00196

V. Nedovic, “Learning recipe ingredient space using generative probabilistic models,” Proceedings of the 2nd Workshop Cooking with Computers, Beijing, China, August 3-5, 2013, pp. 11-16

J. Jermsurawong, and N. Habash, “Predicting the Structure of Cooking Recipes,” in Proceedings of the 2015 Conference on Empirical Methods in Natural Language Processing, Lisbon, Portugal, Sep. 17-21, 2015, pp. 781–786.

A. Jain, R. N K and G.Bagler, “Analysis of Food Pairing in Regional Cuisines of India,” PloS one,vol. 10, no. 10, pp. 1-17, Oct. 2015, doi: 10.1371/ journal.pone.0139539.

B. Khan, “Application of pattern mining on data of flavor molecules, their percepts and molecular features,” Ph.D. dissertation, Delhi: Indraprastha Institute of Information Technology Delhi, 2018

“Recipe,” FoodTravel.tv [Online].http://www.foodtravel.tv. (Accessed: Jan. 15, 2022)

N. Garg, et al., “FlavorDB: a database of flavor molecules,” Nucleic acids research, vol. 46, no. D1, pp. D1210–D1216, Oct. 2017, doi: 10.1093/nar/gkx957

กรมวิทยาศาสตร์บริการ, “เรื่องน่ารู้ของกลิ่นรสในอาหาร และเครื่องดื่ม,” ข่าววิทยาศาสตร์บริการ, มกราคม 2528. [ออนไลน์], เข้าถึงได้: http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2528_107.pdf'. [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2565].

วันดี ณ สงขลา และวิบูลเพ็ญ ชัยปาณี, “วิธีปรุงอาหารไทย,” สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ, มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช, [ออนไลน์], 2532. เข้าถึงได้:https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=13&chap=8&page=chap8.htm. [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2565].

Y. X. Zhu, J. Huang, Z. K. Zhang, Q. M. Zhang, T. Zhou and Y. Y. Ahn, “Geography and similarity of regional cuisines in China,” PloS one,vol. 8, no. 11, Nov. 2013, doi: 10.1371/ journal.pone.0079161

แววตา ชี้ทางดี และ สิรี ชัยเสรี. “ผลของอุณหภูมิและเวลาในการให้ความร้อนต่อปริมาณสารระเหยในใบเตย.” ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42, กรุงเทพฯ, 3-6 ก.พ. 2547, สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย, 2547. หน้า 542-549.

P. Shannon, et al., “Cytoscape: a software environment for integrated models of biomolecular interaction networks,” Genome research, vol. 13, no. 11, pp. 2498–2504, Nov. 2003, doi: 10.1101/ gr.1239303