ระบบตรวจวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน

Main Article Content

อรวรรณ พลฤทธ
ณัฐฐกิตติ์ อานันท์สันต
ณัฐวัตร เหล่าตระกูลงาม
นวลรัตน์ วัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบสำหรับตรวจวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เนื่องจากคณะผู้วิจัยเล็งเห็นปัญหาของคุณภาพอากาศที่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จังหวัดตรังจากภาวะควันไฟป่าจากประเทศอินโดนีเซียในปี พ.ศ.2562 จึงเป็นที่มาของเหตุผลในการพัฒนาระบบดังกล่าว โดยอาศัยแนวคิดการพัฒนาระบบ การออกแบบฐานข้อมูล และการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดค่าฝุ่น (dust sensor) ซึ่งทำการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง และนำเสนอค่าปริมาณฝุ่นผ่านแอปพลิเคชัน Dust@SDU จากการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จากอุปกรณ์ Dust Sensor โดยทำการเก็บตัวอย่างฝุ่นละออง PM2.5 ในอากาศต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2562 โดยในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่จังหวัดตรังได้เผชิญกับปัญหาหมอกควันไฟป่าจากประเทศอินโดนีเซีย พบว่า ข้อมูลมีแนวโน้มใกล้เคียงกันกับข้อมูลจากกรมควบคุมคุณภาพซึ่งวัดคุณภาพอากาศในบริเวณพื้นที่ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง โดยค่าที่วัดจากอุปกรณ์ Dust sensor มีค่าสูงกว่าเล็กน้อย

Article Details

How to Cite
[1]
พลฤทธ อ., อานันท์สันต ณ., เหล่าตระกูลงาม ณ., และ วัฒนา น., “ระบบตรวจวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน”, JIST, ปี 10, ฉบับที่ 1, น. 1–9, มิ.ย. 2020.
บท
บทความวิจัย Information Systems

References

กรมควบคุมมลพิษ, “มาตรฐานฝุ่นละอองในบรรยากาศโดยทั่วไป,” กรมควบคุมมลพิษ, 2562. [Online] Available: http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_std_airs nd01.html. [Accessed: 5 สิงหาคม 2562].

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, “มลพิษทางอากาศ,” กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2562. [Online] Available: http://www.deqp.go.th/knowledge. [Accessed: 5 สิงหาคม 2562].

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, “ฝุ่นละอองในบรรยากาศ,” คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562. [Online]. Available: http://www.en.mahidol.ac.th/elearning/upload/Dust_Patcharawadee.pdf. [Accessed: 15 สิงหาคม 2562].

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, “วงจรการพัฒนาระบบ,” สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2562. [Online]. Available: http://www.swpark.or.th/sdlcproject/index.php/14-sample -data-articles/87-2013-08-09-08-39-48. [Accessed: 5 เมษายน 2562].

ภานุพงศ์ ศุภะรัชฏเดช, “Ionic framework,” มิถุนายน, 2562. [Online]. Available: https://www.imwritingrich .com/what-is-ionic-framework. [Accessed: 2 มิถุนายน 2562].

ArduinoAll, “Laser Dust Sensor pm2.5 PMS300,” 10 กรกฎาคม, 2562. [Online]. Available: https://www.arduinoall.com/product/2010/laser-dust-sensor-pm2-5-pms3003. [Accessed: 10 กรกฎาคม 2562].

Manufacture Overhaul Rapid an Optical Co., Ltd., “ไมโครคอนโทรลเลอร์,” Manufacture Overhaul Rapid an Optical Co., Ltd., 2562. [Online]. Available: http://www.moro.co.th/ไมโครคอนโทรลเลอร์. [Accessed: 13 มิถุนายน 2562].

สถิตธรรม สังข์ทอง, “Arduino ESP8266 (NodeMCU),” มิถุนายน, 2562. [Online]. Available: https://medium.com/sathittham. [Accessed: 24 มิถุนายน 2562].

ฐิฏาพร สุภาษี, พาณิชย์ อินต๊ะ, เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง และเศรษฐ์ สัมภัตตะกุล, “การวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM2.5 และ PM10 ในบรรยากาศด้วยเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองไร้สายในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย,” วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, ฉบับที่ 1, ปีที่ 2, มกราคม-มิถุนายน, หน้า 69-83, 2561.

A. Hussain and E. Ferneley, “Usability metric for mobile application: a goal question metric (GQM) approach,” In Proc. 10th International Conference on Information Integration and Web-based Applications & Services (iiWAS ’08), 2008, pp. 567–570.

กองควบคุมมลพิษ, “รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย,” กองควบคุมมลพิษ, 2562. [Online]. Available: air4thai.pcd.go.th/webV2/station.php?station =m119. [Accessed: 30 กันยายน 2562].