อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงปริมาตรดินต่อกำลังรับแรงเฉือน ของดินไม่อิ่มตัวด้วยน้ำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมกำลังรับแรงเฉือนของดินที่ไม่อิ่มตัวด้วยน้ำเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนโพรงของดิน โดยทำการศึกษาจากดินตัวอย่างในพื้นที่ศึกษา ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ การทดสอบทำการตรวจวัดค่าแรงดูดน้ำในดินเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความชื้นด้วยหัววัดเทนซิโอมิเตอร์ชนิดอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการทดสอบโดยการเพิ่มความชื้นในดินจนเกิดการขยายตัวสูงสุดแล้วปล่อยให้น้ำระบายออกจากมวลดินเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความชื้น แรงดูดน้ำของดินและอัตราส่วนโพรง รวมทั้งทำการทดสอบหากำลังรับแรงเฉือนของดินที่อัตราส่วนโพรงที่แตกต่างกัน จากการทดสอบพบว่าเมื่อดินมีความชื้นลดลงค่าแรงดูดน้ำของดินจะสูงขึ้น อัตราส่วนโพรงของดินมีค่าลดลง ในทางกลับกันเมื่อดินได้รับความชื้นมากขึ้นค่าแรงดูดน้ำของดินจะมีค่าลดลง อัตราส่วนโพรงของดินมีค่าสูงขึ้น จากการทดสอบแรงเฉือนโดยตรงที่ค่าอัตราส่วนโพรงต่างๆ พบว่าดินตัวอย่างที่มีอัตราส่วนการขยายตัวมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนโพรงมากกำลังรับแรงเฉือนของดินจะลดลง
Article Details
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยฯ อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มาจากวารสารและไม่ใช้เพื่อการค้า
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ
References
อภินิติ โชติสังกาศ, วิษณุพงศ์ พ่อลิละ, 2551. การพัฒนาเครื่องมือวัดศักย์แรงดูดน้ำในดิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์, กุมภาพันธ์ 2551.
Abramson, W.L., L.S. Thomas, S. Sunil and B.M. Glenn. 1996. Slope stability and stabilization method. John Wiley & Sons, Inc., New York.
Bloom, A.L. 1998. Geomorphology-A Systematic Analysis of Late Cenozonic Landform, 3rd ed. Prentice Hall, New Jersey.
Brand, E., (1985). "Geotechnical Engineering in Tropical Residual Soils" (Special Lecture), Proceedings 1st International Conference on Geomechanics in Tropical Lateritic and Saprolitic Soils, Brasilia, Vol. 3, pp. 23-91.
Brooks, R. H., and A. T. Corey. 1964. Hydraulic properties of porous media. Hydrologic papers #3, Colorado State University., Fort Collins, Colorado.
Campbell, G. S. 1974. A simple method for determining unsaturated conductivity from moisture retention data. Soil Science, Vol. 117, pp. 311-314.
Fredlund, D.G. and A. Xing. 1994. Equation for the soil-water characteristic curve. Canadian Geotechnical Jour. vol. 31, No. 3, pp.521-532.
Fredlund, D.G. and H. Rahardjo. 1993. Soil mechanics for unsaturated soil. John Wiley & Sons, Inc., New York.