กรณีศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อหรือเช่าบริการปั้นจั่น แบบเคลื่อนที่ได้ สำหรับงานก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร

Main Article Content

Gitsaya Wichienpanya
Namo Tangseenoun
Thanapong Waleesakchainan
Chackaphong Chaiyanupattakul

บทคัดย่อ

ข้อมูลที่นำมาศึกษาในครั้งนี้นำมาจากบริษัท และสถานที่ที่ทางตัวคณะผู้จัดทำได้ไปสหกิจศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเริ่มต้นทำการศึกษาด้วยการเก็บข้อมูลดิบ (Raw Data) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงอนุมานโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณซึ่งประกอบด้วย  1.)  มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ (Net Present Value : NPV) จะทำการแสดงผลในรูปแบบของกระแสเงินสด (Cash Flow Diagram) 2.)  อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return :IRR)  3.)  ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period Method : PB) และวิเคราะห์ข้อมูลค่าร้อยละ สรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จะทำการเสนอในรูปแบบของแขนงการตัดสินใจ (Decision tree) ซึ่งจะสามารถแสดงผลความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ชัดเจน


ผลการศึกษาพบว่า จากการศึกษาด้วยวิธีการนำข้อมูลที่ได้จากการทำข้อมูลดิบ (Raw Data) ด้วยการนำมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) อัตราผลตอบแทน (Internal Rate of Return : IRR) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period Method : PB) ในระยะเวลา 24 เดือน หรือ 2 ปี ของโครงการโดยแยกออกเป็น 5 กรณีในการศึกษา และจากการศึกษาพบว่าการเช่าปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่ได้มีความคุ้มค่ามากที่สุด โดยที่ค่าเฉลี่ยจากการเช่าปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่ได้มีความคุ้มค่ามากที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 20 แต่หากต้องการลงทุนซื้อปั่นจั่นแบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Crane) ลงทุนในโครงการการกรณีที่คุ้มค่าที่สุดคือการผ่อนชำระมือ 2 การผ่อนชำระมือ 1 การซื้อสดมือ 2 และการซื้อสดมือ 1 ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์ใน 3 โครงการหมู่บ้านจัดสรร โครงการที่น่าลงทุนในด้านความคุ้มค่ามากที่สุด เรียงลำดับในดังนี้ 1) โครงการที่ 2 ในกรณีที่เช่า 5,839,427.36 บาท 2) โครงการที่ 3 ในกรณีที่เช่า 2,451,752.80 บาท และ 3)  โครงการที่ 1 ในกรณีที่เช่า 2,156,433.36 บาท

Article Details

How to Cite
Wichienpanya, G., Tangseenoun, N. ., Waleesakchainan, T. ., & Chaiyanupattakul, C. . (2020). กรณีศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อหรือเช่าบริการปั้นจั่น แบบเคลื่อนที่ได้ สำหรับงานก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 2(1), 26–47. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/RJST/article/view/243385
บท
บทความวิจัย

References

[1] วิสูตร จิระดำเกิง. 2550. การบริหารโครงการแนวทางปฏิบัติจริง. วรรณกวี, กรุงเทพฯ.

[2] ประชุม สุวัตถี. (2553). ทฤษฎีการอนุมานเชิงสถิติ. โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

[3] สิทธิชัย ดาราศร. 2560. คู่มือการคำนวณค่าเช่าเครื่องจักรกล. ฝ่ายพิจารณาตรวจสอบ ส่วนวิศวกรรม. กรมชลประทาน. นนทบุรี.

[4] ชูชัย สมิทธิไกร. 2553, พฤติกรรมผู้บริโภค. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

[5] ณัฐวุฒิ ศรีมาวงศ์. 2556. แผนการขยายธุรกิจบริการรถเครนของเปี๊ยกเครน จังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ.

[6] ฝนทิพย์ วงศ์ภุชาติกุล. 2558. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าห้องพักสำหรับการอยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

[7] ภูวเนศวร์ ทรงสาระ. 2557. การซ่อมบำรุงรถเครนแบบคานยก. มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ.

[8] มานิต แถบน้อย. 2558. การลดต้นทุนในธุรกิจรถบรรทุกติดเครนให้เช่า. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. กรุงเทพฯ.

[9] ราเชนทร์ นวลรัตน์, ศิริศักดิ์ เย็นเกษม และ สุทิน ภูแดง. 2554. เครื่องขนถ่ายวัตถุดิบสำหรับใช้กับเครน. มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

[10] หฤทัย มีนะพันธ์. 2550. หลักการหลักการวิเคราะห์โครงการทฤษฎีและวิธีปฏิบัติเพื่อความเป็นไปได้ ของโครงการ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

[11] อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. 2554. การตัดสินใจเพื่อการลงทุน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

[12] วชิวุธ อยู่อำไพ. 2553. ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดกลางและขนาด ย่อม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ.

[11] วุฒิกรณ์ จันทะพันธ์. 2557. ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์โครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัยรวมข้าราชการและพนักงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. ลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

[12] วิชัย คุ้มมณี. 2544. อธิบายถึงการจำแนกประเภทของงานซอมบำรุงแบงออกได้ตามกฎเกณฑ์. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.

[13] ธนา กิตติชยานนท์, ธนากร วงศ์อมเรศ และ นิกาญจน์ โพธิ์พันธ์. “เครนคืออะไรเรารู้จักกันมากน้อยแค่ไหน” (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://learn-crane.blogspot.com/2017/12/blog- post_20.html (14 ธันวาคม 2561).

[14] ธนา กิตติชยานนท์, ธนากร วงศ์อมเรศ และ นิกาญจน์ โพธิ์พันธ์. “การอ่านหรือการดูค่าต่างๆ ของเครน” (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://learn-crane.blogspot.com/2017/09/blog-post_24.html (14 ธันวาคม 2561).

[15] ปรัธนา. (2554). “การเรียกประเภทเครนต่างๆที่มีอยู่ในโลก” (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://cranethailand.blogspot.com/2011/03/blog-post_22.html (14 ธันวาคม 2561).

[16] Gahaor. (2556). “แผนภาพต้นไม้ (Tree Diagram)” (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://gahaor.wordpress.com (24 ธันวาคม 2561).