แท่นยื่นเพื่อสุขภาพ

Main Article Content

ชุติพล มหาวีระ
กอบกุล นงนุช
พิมพ์นิภา รัตนจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอแท่นยืนเพื่อสุขภาพโดยแท่นยืนเพื่อสุขภาพออกแบบให้สามารถปรับระดับองศา     การยืนตั้งแต่ระดับ 0 องศาไปจนถึงระดับ 50 องศา ชั่งน้ำหนักโดยใช้โหลดเซลล์เซนเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจโดยใช้พัลล์เซนเซอร์และวัดความตึงของกล้ามเนื้อโดยใช้อีเอ็มจีเซนเซอร์ ซึ่งใช้โปรแกรมอาดูโน่ในการควบคุม จากผลการทดลองกับผู้ใช้งานจริงพบว่าค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้าที่วัดได้จะไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ      ทางสถิติ (P<0.05)  และจากระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบพบว่า เมื่อเพิ่มระยะเวลาทดสอบเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 7 วัน ค่าที่วัดได้มีค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้าในระดับไม่แตกต่างกับระยะเวลาทดสอบในวันที่ 1 และ 2 และแนวโน้ม    ค่าอัตราการเต้นของหัวใจของผู้ทดสอบหลังใช้แท่นยืนเพื่อสุขภาพโดยทดลองด้วยแอพพลิเคชั่นในมือถือเปรียบเทียบกับพัลล์เซนเซอร์พบว่าอัตราการเต้นของหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
มหาวีระ ช., นงนุช ก., & รัตนจันทร์ พ. (2021). แท่นยื่นเพื่อสุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 3(2), 1–8. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/RJST/article/view/244973
บท
บทความวิจัย

References

ชัยณรงค์ คล้ายมณี, อาคม ม่วงเขาแดง. (2549). โปรแกรมวัดสัญญาณและอัตราการเต้นของชีพจรโดยใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล.ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บัญชา ศรีวิโรจน์, วันชัย ทรัพย์สิงห์, จีระศักดิ์ วงศา. (2556). การควบคุมมอเตอร์กระแสตรงแบบกระตุ้นแยกด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล PIC. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ณัฏฐพล เจริญศิริ, ประชาสันต์ แว่นไธสง, กฤษณพล เกิดทองคำ. (2563). ระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิและความชื้น สำหรับห้องควบคุมไฟฟ้า สำหรับบริษัทสงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด. Rattanakosin Journal of Science and Technology: RJST. 2(3). 119-132.

พัฒน์ สวรรค์พิทักษ์, วารี จิรอดิศัย. (2557). คลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ Vastus Medialis ขณะออกแรงใน ตำแหน่งของขาที่ต่างกัน. ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 24(1), 13-19.

แสวง บุญชัยเดช. (2537). เก้าอี้มหัศจรรย์. โรงพยาบาลอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี.

อธิเบต ขุนรัตน์, พงศกร ศรีงาม, เกรียงศักดิ โยธาภักดี. (2560). การพัฒนาระบบตรวจวัดและบันทึกสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อใบหน้าด้วยบอร์ด Arduino.ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ปวิชญา สมทรง, สรณ์สิริ คนึงคิด, สุพาพร บรรดาศักดิ์. (2563). ระบบฟาร์มไก่ไข่อัจฉริยะที่ทำงาน อัตโนมัติด้วยเซนเซอร์ และควบคุมได้ด้วยมือถือ. Rattanakosin Journal of Science and Technology. 2(3), 67-175.

P. Srinivasan, A. Ayub Khan, T. Prabu, M. Manoj, M. Ranjan and K. Karthik. (2020). Heart Beat Sensor Using Fingertip Through Arduino. Journal of Critical Reviews. 7(7), 1058-1060.