การปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังด้วยเถ้าหนักจีโอโพลิเมอร์สำหรับงานทาง

Main Article Content

ชูศักดิ์ คีรีรัตน์
ปิยะพงศ์ กี่สวัสดิ์คอน
ทวีศักดิ์ รุ่งศักดิ์ทวีกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงอัดโดยปราศจากแรงด้านข้างของดินลูกรังปรับปรุงคุณภาพด้วยเถ้าก้นเตาจีโอโพลิเมอร์ โดยนำดินลูกรังผสมกับเถ้าก้นเตาบดละเอียดร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 325 ในอัตราส่วน 70:30 50:50 และ 30:70 และใช้สารกระตุ้นแทนน้ำซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างสารละลายโซเดียมซิลิเกตและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในอัตราส่วน 0:100 10:90 30:70 และ 50:50 โดยปริมาณสารกระตุ้นที่ใช้สำหรับบดอัดเพื่อเตรียมตัวอย่างทดสอบเท่ากับปริมาณความชื้นที่เหมาะสม ปริมาณความชื้นที่เหมาะสม       ลบสอง (ด้านแห้ง) และปริมาณความชื้นที่เหมาะสมบวกสอง (ด้านเปียก) นำตัวอย่างไปบ่มในตู้อบที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 7 วัน หลังจากนั้นนำตัวอย่างไปแช่น้ำเป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง แล้วจึงนำมาทดสอบ จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าอัตราส่วนของดินลูกรังผสมเถ้าก้นเตาที่ดีที่สุด คือ 30:70 และอัตราส่วนของสารละลายโซเดียมซิลิเกตผสมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ดีที่สุด คือ 50:50 สำหรับอัตราส่วนของดินลูกรังผสมเถ้าก้นเตาและสารละลายโซเดียมซิลิเกตผสมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่แนะนำสำหรับงานทาง คือ 50:50 และ คือ 10:90 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
คีรีรัตน์ ช., กี่สวัสดิ์คอน ป., & รุ่งศักดิ์ทวีกุล ท. (2021). การปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังด้วยเถ้าหนักจีโอโพลิเมอร์สำหรับงานทาง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 3(2), 9–18. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/RJST/article/view/244974
บท
บทความวิจัย

References

[1] คมชัดลึก. (11 เมษายน 2560). ไทยมีโรงไฟฟ้าถ่านหินกี่แห่ง. www.komchadluek.net /news/scoop/270838

[2] Muduli, S. D., Sadangi, J. K., Nayak, B. D. and Mishra, B. K. (2013). Effect of NaOH concentration in manufacture of geopolymer fly ash building brick. Greener Journal of Physical Sciences. 3(6). 204-221.

[3] Deraman, L.M., Al Bakri Abdullah, M.M., Yun Ming, L., Hussin, K., and Yahya, Z. (2015). A Review on Processing and Properties of Bottom Ash Based Geopolymer Materials. Key Engineering Materials. 660, 3–8.

[4] Suksiripattanapong, C., Tuntawoot, N., Thumrongvut, J., Wonglakorn, N., Chongutsah, S., and Tabyang, W. (2019). Compressive Strength of Marginal Lateritic Soil Stabilized with Bottom Ash Geopolymer as a Pavement Material. International Journal of Engineering and Technology. 11(3). 177-180.

[5] สุภาพร แจ่มเจริญ. (2533). ดินลูกรัง. วิศวกรรมสาร มก. 9. 25-32.

[6] Ghafoori, N. and Bucholc, J. (1997). Properties of High-Calcium Dry Bottom Ash Concrete. ACI Materials Journal, 94(2). 90-101.

[7] Onprom, P., Chaimoon, K., and Cheerarot, R. (2015). Influence of Bottom Ash Replacements as Fine Aggregate on the Property of Cellular Concrete with Various Foam Contents. Advances in Materials Science and Engineering. 2015.381704.

[8] Cheriaf, M., Rocha, J. C. and Pera, J. (1999). Pozzolanic Properties of Pulverized Coal Combustion Bottom Ash, Cement and Concrete Research. 28(9). 1387-1391.

[9] Jaturapitakkul, C. and Cheerarot, R. (2003). Development of Bottom Ash as Pozzolanic Material. Journal of Materials in Civil Engineering. 15(1). 48-53.

[10] เรืองรุชติ์ ชีระโรจน์ และชัย จาตุรพิทักษ์กุล. (2546). การใช้เถ้าก้นเตาบดละเอียดเป็นวัสดุปอซโซลานในงานคอนกรีต. วิศวกรรมสาร ฉบับวิจัยและพัฒนา. 14(2). 1-8.

[11] อุมาพร ปฏิพันธ์ภูมิสกุล และประทีป ดวงเดือน. (2553). การปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังโดยใช้เถ้าก้นเตา เศษปูนขาวและโซเดียมไฮดรอกไซด์. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 15.