การเปรียบเทียบรอยรูกระสุนปืนระหว่างฝาท้ายกระบะมาตรฐานกับฝาท้ายกระบะดัดแปลงจากการยิงด้วยอาวุธปืนที่ระยะแตกต่างกัน

Main Article Content

บงกช กรอบบาง
ปริญญา สีลานันท์

บทคัดย่อ

การตรวจร่องรอยบนวัตถุเป็นวิธีหนึ่งของการตรวจเก็บพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ร่องรอยจากลูกกระสุนปืนเป็นข้อมูลที่สามารถใช้สืบสวนและเปรียบเทียบเพื่อเชื่อมโยงพฤติการณ์ได้ งานวิจัยนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบร่องรอยที่เกิดจากการปะทะกับลูกกระสุนปืนบนฝาท้ายกระบะมาตรฐานและฝาท้ายกระบะดัดแปลง และศึกษาความแตกต่างของร่องรอยที่เกิดบนฝาท้ายกระบะมาตรฐานและฝาท้ายกระบะดัดแปลงเมื่อใช้ลูกกระสุนปืนและระยะยิงต่างกัน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสนับสนุนงานตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์สำหรับการก่อเหตุยิงรถยนต์ โดยจำลองเหตุการณ์ยิงในระยะยิงที่แตกต่างกันด้วยอาวุธปืนพกออโตเมติก Glock CZ กระสุนปืนแบบ Lead Round Nose (LRN) และแบบ Jacket Hollow Point (JHP) ตรวจสอบร่องรอยที่ปรากฏบนฝาท้ายกระบะมาตรฐานจากโรงงานผู้ผลิตและฝาท้ายกระบะดัดแปลงจากการยิง ที่ระยะ 3, 5 และ 7 เมตร ผลการทดลองพบว่าลักษณะทางสัณฐานของรอยรูทางเข้าและทางออกของกระสุนปืนแตกต่างกันเมื่อทำมุมยิงกับแผ่นฝาท้าย 90 องศา โดยรูทางเข้าของกระสุนปืนเป็นวงกลมขอบเรียบ ส่วนรูทางออกของกระสุนปืนมีรูปร่างเป็นวงกลมขอบไม่เรียบ พื้นผิวฝาท้ายกระบะบางส่วนบวมพองและ
ฉีกขาด จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ระยะยิงไม่มีผลต่อขนาดความกว้างและความยาวของทั้งรูทางเข้าและรูทางออก แต่ชนิดของกระสุนมีผลต่อขนาดของรอยรูทางเข้าและทางออก โดยขนาดของรูที่ปรากฏจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สามารถนำไปพิจารณาและวิเคราะห์รอยรูกระสุนเพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลเฉพาะสนับสนุนการตรวจพิสูจน์ร่องรอยจากการยิงบนพื้นผิวในงานทางนิติวิทยาศาสตร์ได้

Article Details

How to Cite
กรอบบาง บ. ., & สีลานันท์ ป. (2024). การเปรียบเทียบรอยรูกระสุนปืนระหว่างฝาท้ายกระบะมาตรฐานกับฝาท้ายกระบะดัดแปลงจากการยิงด้วยอาวุธปืนที่ระยะแตกต่างกัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 6(3), 52–66. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/RJST/article/view/253191
บท
บทความวิจัย

References

ชูชาติ โชคสถาพร, ณรงค์ กุลนิเทศ และ กิตติยาพร สิงห์สัมพันธ์. (2559). การศึกษาอิทธิพลของวิถียิงและระยะยิงของกระสุนปืนที่มีต่อร่องรอยแตกร้าวบนกระจกรถยนต์. Veridian E-journal Science and Technology Silpakorn University, 3(5), 274-288.

อัจฉราพร พาเก่าน้อย, จิรวัชร ธนูรัตน์, พิพิธชัย สร้อยชมภูพงศ์ และ คมศร ลมไธสง. (2556). ความแตกต่างของร่องรอยที่เกิดจากลูกกระสุนปืนรีวอลเวอร์ขนาด .38 สเปเชียล (LRN) และลูกกระสุนปืนออโตเมติกขนาด 9 มม. ลูเกอร์ (LRN) เมื่อเข้าปะทะบนแผ่นโลหะ. KKU Science Journal, 41(3), 770-780.

สิทธิชน พิมลศรี และ สันติ์ สุขวัจน์ (2554). การศึกษารอยการแตกของกระจกบานด้านข้างรถยนต์จากการยิงด้วยลูกกระสุนปืน. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 8(1), 14-19.

ศศิธร ทองศักดิ์สิทธิ์, สุธา ภู่สิทธิศักดิ์ และ จิรวัชร ธนูรัตน์. (2556). การศึกษาร่องรอยบนโลหะตัวถังรถยนต์หลังการยิงด้วยกระสุนปืนขนาด 11 มม. (FMJ). KKU Research Journal (Graduate Studies), 13(1), 28-38.

มนต์ทิชา รัตนพันธ์. (2560). ความแตกต่างของร่องรอยที่เกิดจากลูกกระสุนปืนออโตเมติกขนาด 9 มม. แบบ FMJ, JHP และ LRN เมื่อเข้าปะทะบนแผ่นโลหะ. SDU Res. J., 10 (2), 33-48.

ลัดดาวัลย์ บุญจงรักษ์ และณรงค์ กุลนิเทศ. (2559). การศึกษาร่องรอยลูกกระสุนปืนบนแผ่นโลหะที่ยิงจากปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด. 357 Magnum ในระยะยิงและมุมยิงที่แตกต่าง. SDU Res. J., 10 (2), 35-50.

ฐิติชญา เหลืองไพโรจน์ และณรงค์ กุลนิเทศ. (2563). ผลกระทบของชนิดกระสุนปืนและวิถียิงของกระสุนปืน ต่อกระบวนการวัดมุมแบบการกำหนดจุดแรกเข้า สำหรับการวัดมุมยิงตกกระทบจากร่องรอยลูกกระสุนปืนบนแผ่นโลหะตัวถังรถยนต์ที่ถูกยิงด้วยปืนพก. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์, 6(2), 45-57.

พีรวงศ์ หิรัญเกิด, สุธา ภู่สิทธิศักดิ์ และ จิรวัชร ธนูรัตน์. (2557). การศึกษาร่องรอยของลูกกระสุนปืนบนกัน ชนรถยนต์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล. (2554). การใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนามในการวิจัยทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. https://www.stou.ac.th/website/ejodil0.5/filejodil/1_16_151.pdf

ฉลอง สีแก้วสิ่ว. (2552). สถิติเชิงประยุกต์. Two-Factors ANOVA (Two-way ANOVA). https://www.geocities.ws/chalong_sri/index.htm

ณรงค์ กุลนิเทศ. (2560). การศึกษาร่องรอยการปะทะของลูกกระสุนปืนบนกระจกจากอาวุธปืนพกหลายขนาด ที่มีระยะยิงและมุมยิงที่แตกต่าง. SDU Res. J., 10 (2), 95-114.