การพัฒนาระบบยกถ้วยออกจากสายพานลำเลียงของเครื่องบรรจุ ขนมพุดดิ้งมะพร้าวอ่อนแบบอัตโนมัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ขนมพุดดิ้งมะพร้าวอ่อนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่มและแตกหักเสียหายได้ง่าย ปัญหาในกระบวนการบรรจุของบริษัท กรณีศึกษา คือถ้วยพุดดิ้งหล่นจากสายพานเนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้ในการบรรจุเป็นเครื่องบรรจุน้ำดื่มถ้วยแต่บริษัทได้นำมาปรับใช้บรรจุพุดดิ้ง เครื่องบรรจุน้ำนี้ไม่มีกลไกยกถ้วยออกจากสายพานเพราะถ้วยน้ำสามารถเทออกจากสายพานท้ายเครื่องได้โดยถ้วยน้ำไม่เกิดความเสียหาย แต่ถ้วยพุดดิ้งไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ จึงต้องใช้คนงานดึงถ้วยออกทำให้บางครั้งคนงานยกออกไม่ทันถ้วยจึงหล่นลงที่พื้นทำให้เนื้อพุดดิ้งเสียหาย คิดเป็นอัตราสินค้าเสียหาย ร้อยละ 5 ต่อวัน หรือเฉลี่ย 350 ถ้วยต่อวัน บ่อยครั้งที่ถ้วยแตกทำให้กระบวนการผลิตโดยรวมหยุดชะงักและใช้เวลาทำความสะอาดเครื่องจักรเฉลี่ยในทุก 30 นาที งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบยกถ้วยพุดดิ้งออกจากสายพานแบบอัตโนมัติด้วยระบบนิวเมติกส์ โดยไม่ทำให้เนื้อพุดดิ้งที่มีความอ่อนนุ่มเสียหาย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนของเสียจากกระบวนการบรรจุ โดยการเคลื่อนย้ายถ้วยพุดดิ้งจะเคลื่อนที่ในแนวตั้งและแนวนอนด้วยความเร็วที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อพุดดิ้งแตก ผลการวิจัยพบว่าระบบยกถ้วยพุดดิ้งที่พัฒนาขึ้นสามารถยกถ้วยพุดดิ้งได้ต่อเนื่องโดยไม่เกิดของเสีย จากการทดสอบยกถ้วยพุดดิ้งขนาดความจุ 5 ออนซ์และ 6 ออนซ์ ต่อเนื่อง 1,000 ถ้วย ความเร็วสูงสุดที่ไม่ทำให้เนื้อพุดดิ้งเสียหายในแนวนอนคือ 416.67 มิลลิเมตรต่อวินาที และในแนวตั้งคือ 197.37 มิลลิเมตรต่อวินาที ทำให้ความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 100 และลดต้นทุนของเสียได้ ร้อยละ 100
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยฯ อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มาจากวารสารและไม่ใช้เพื่อการค้า
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ
References
Peter R.N.Childs. (2019). Pneumatics and hydraulics. Mechanical Design. Engineering Handbook (Second Edition), pp.849-874.
Festo FluidSim Manual. https://www.festo.com/net/en-gb_gb/SupportPortal/Files/561700.
มารุต เจริญศรี. “เครื่องบรรจุวุ้นอัตโนมัติ (Automatic Filling Machine of Jelly)” กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์, เลขที่คำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ : 1101001934.
รุ่งเพชร สุวรรณ. (2557). การเพิ่มผลิตภาพในกระบวนการผลิต: การบรรจุน้ำนมข้าวโพด. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ปวรุตม์ เปี่ยมแก้ว และคณะ. (2563). การออกแบบและพัฒนาเครื่องบรรจุน้ำปลาร้ากึ่งอัตโนมัติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธนบุรี. ปีที่ 4, ฉบับที่ 2, มกราคม-มิถุนายน. หน้า 25-43.
ศิริชัย ต่อสกุล และกุณฑล ทองศรี. (2558). การออกแบบและพัฒนาเครื่องบรรจุน้ำพริกแบบกึ่งอัตโนมัติระบบนิวแมติก. การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ รูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทยครั้งที่ 8.
ไพฑูรย์ ประทีปสุข และไพฑูรย์ พูลสุขโข. (2550). ออกแบบและสร้างเครื่องบรรจุน้ำดื่มและผนึกภาชนะใส่น้ำดื่มแบบแก้วด้วยระบบจานหมุน. คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สมัคร รักแม่ และคณะ. (2556). การออกแบบและพัฒนาเครื่องบรรจุชิ้นเนื้ออาหารลงกระป๋องความเร็วสูง. ประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติครั้งที่ 14 และระดับนานาชาติครั้งที่ 6 ประจำปี 2556.
อรุณ สุขแก้ว และวิมล บุญรอด. (2562). การออกแบบเครื่องบรรจุหนังปลากะพงปรุงรสโดยใช้ระบบนิวเมติกส์. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยอุบลาชธานี. ปี 9, ฉบับที่ 2, กันยายน 2019. หน้า 49-60.
George E. Klinzing. (2018). A review of pneumatic conveying status, advances and projections. Powder Technology, Volume 333, pp 78-90.
He, Daijie. (2018). Healthy speed control of belt conveyors on conveying bulk materials. Powder Technology, Volume 327, pp. 408-419.
ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ. (2550). การประเมินลักษณะเนื้อสัมผัสในอาหาร. วารสารเทคโนโลยีการอาหารมหาวิทยาลัยสยาม ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 2549-พฤษภาคม 2550, หน้า 6-13.