พัฒนาชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์อย่างง่ายจากท่ออลูมิเนียม

ผู้แต่ง

  • สหัสษา พีงาม สาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
  • ภูริต ควินรัมย์ สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ยุทธพันธ์ คำวัน สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
  • สรรเพชญ นิลผาย สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ภาสกร เดชโค้น สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์, ชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์, ท่ออลูมิเนียม

บทคัดย่อ

การเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์เป็นเนื้อหาที่สำคัญทางฟิสิกส์ซึ่งเครื่องมือทดลองมีราคาค่อนข้างสูง การพัฒนาชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์อย่างง่ายจึงมีความสำคัญอย่างมาก การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์อย่างง่ายจากท่ออลูมิเนียมและทดสอบสรรถนะของชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์ที่ผลิตขึ้น การวิจัยครั้งนี้ใช้ท่ออลูมิเนียมในการผลิตโดยพัฒนาให้มีคุณสมบัติการปรับตำแหน่งการยิงได้หลายระดับ และสามารถปรับระดับความสูงได้สำหรับการศึกษาการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง การทดสอบสรรถนะของชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์ทำการทดสอบโดยการหาค่าคงที่ของสปริงที่ใช้ในการยิงและหาความเร็วต้นของวัตถุที่เคลื่อนที่ออกจากปลายท่อ ผลการทดสอบพบว่าค่าคงที่ของสปริงเฉลี่ยเท่ากับ 128.28 + 0.006  N/m และผลการทดสอบความเร็วต้นของวัตถุที่เคลื่อนที่ออกจากปลายท่อมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.32+ 0.01 m/s และ 3.83 + 0.02 m/s ตามลำดับ เมื่อทำการแปรค่าความแรงในการยิงที่ระดับความสูงเดียวกันระยะทางที่วัตถุตกในแนวระดับมีค่าเพิ่มขึ้น ชุดทดลองนี้สามารถปรับตำแหน่งการยิงได้อย่างแม่นยำและยังมีราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าชุดทดลองมาตรฐานในท้องตลาด ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาเครื่องมือการทดลองการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์ที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าในด้านต้นทุนและสามารถส่งเสริมการพัฒนาในสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนทางฟิสิกส์ได้

References

Serway, R. A., & Jewett, J. W. (2008). Physics for scientists and engineers with modern physics (9th ed.). Brooks/Cole. https://salmanisaleh.wordpress.com/wp-content/uploads/2019/02/physics-for-scientists-7th-ed.pdf

Khambun, A. (2018). The development projectile experimental set by automatic angle. Advanced Science, 18(1), 81-96. https://sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/18-1/chapter-6.pdf

Poonyawatpornkul, J., & Luksameevanish, V. (2019). Development of scientific understanding using high-speed video analysis technique: Case study on projectile motion. Journal of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, 30(1), 71–84. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/186818/131491

Kovacevic, M. S., Kuzmanovic, L., Kovacevic, S., & Milosevic, M. M. (2024). An experiment for the study of projectile motion. Revista Mexicana de F´ısica E, 21, 1-5. https://rmf.smf.mx/ojs/index.php/rmf-e/article/view/7277/6938

Parker, G. W. (1977). Projectile motion with air resistance quadratic in the speed. Am. J. Phys, 45(7), 606. DOI: 10.1119/1.10812

Sittichai, R., & Rattanapong, K. (2020). Designing and Developing Electromagnetic Induction Projectile Launcher. Journal of Science and Technology Education, 8(2), 55-67. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/7661/6980

Office of Academic Standards and Educational Quality, Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. (2008). Indicators and core learning contents of the science learning area according to the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (2008). The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Kongraksaa, N. (2014). Cloud computing and education management in the 21st century. Journal of Vocational and Technical Education, 4(7), 52-59. https://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/JVTE/article/view/1726/1241

Ruangbun, T., & Wuttiprom, S. (2016). Designing and developing electromagnetic induction projectile launcher. Journal of Research Unit Science, Technology and Environmental Learning, 7(1), 191-203. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/7661/6980

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

How to Cite

พีงาม ส., ควินรัมย์ ภ. ., คำวัน ย., นิลผาย ส., & เดชโค้น ภ. (2024). พัฒนาชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์อย่างง่ายจากท่ออลูมิเนียม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 5(3), 53–64. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/ScienceRERU/article/view/256748