การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของปัญหาร่วมการขนส่งและปริมาณขนส่งที่เหมาะสมโดยใช้แบบจำลองสถานการณ์
Keywords:
รถขนส่ง,ประโยชน์สูงสุด, การจำลองสถานการณ์, Transportation, Simulation modelAbstract
ระบบพัสดุคงคลังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในอุตสาหกรรม และมีผลกระทบหากมีการเคลื่อนย้ายพัสดุภายในโรงงาน เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้สร้างมูลค่า แต่กลับจะเพิ่มต้นทุน งานวิจัยนี้ศึกษาระบบการขนส่งจากคลังสินค้าไปยังแผนกบรรจุภัณฑ์ จากการวิเคราะห์ด้วยแผนภาพกิจกรรมการไหลพบว่า ในการขนส่งกล่องบรรจุภัณฑ์มีการบรรทุกกล่องบรรจุภัณฑ์ไม่เต็มคัน ระบบปัจจุบันส่งผลให้มีเวลาสูญเปล่าเกิดขึ้นระหว่างการขนส่งกล่องบรรจุภัณฑ์ในแต่ละรอบ จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อจัดสมดุลขนส่งบรรจุภัณฑ์จากคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้แนวคิดการใช้รถขนส่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประยุกต์ร่วมกับโปรแกรมวิเคราะห์แบบจำลองสถานการณ์ เพื่อตัดสินใจกำหนดปริมาณการขนส่งบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ผู้วิจัยได้ทดสอบระบบโดยใช้ข้อมูลจากโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เมลามีน จากการวิเคราะห์พบว่า สามารถเพิ่มจำนวนผลิตสินค้าได้ 48.35%, การใช้ประโยชน์จากพนักงานติดฉลากเพิ่มขึ้น 26.35% นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ความไวของระบบเพื่อความเชื่อมั่นและความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้รถขนส่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
An inventory system is one of the important factors for improving efficiency in industrial production. The inventory affects the total transportation costs of the system. Transporting materials do not add value to the system but increase the total cost of the system. This research studies a transportation system—from the warehouse to the packing department. The analysis of the flow diagram found that the current transportation system assigned an amount less than load of vehicles of the highest capacity; thus, time was wasted time during the transport packaging in each round. The objective of this research was to balance the utilization of vehicles in the packaging process resulting in increased efficiency of the inventory system. In our transportation management, we want to assign loads to the vehicles to achieve full capacity of vehicles. We investigated the transportation system using a simulation (ARENA) and determined the quantity lot size of the transportation. We implemented our model for the real world problem in case of a melanin production. The results showed that our system increased total production by 48.35% and increased the utilization of the production system by 26.35%. Furthermore, the sensitivity analysis was investigated in order to analyze the confidence and accuracy of the results even more. Greater efficiency of transportation management would provide higher benefits and can increase performance in industrial production.