การประมาณค่าและประสิทธิผลของอัตราป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสม กรณีศึกษาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย

Authors

  • วาทินี โชตินุชิตตระกูล

Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อประมาณค่า Hedge ratio ผ่านแบบจำลองเศรษฐมิติ ได้แก่ OLS, VAR, VECM และ Bi-GARCH รวมไปถึงทดสอบประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยง (Hedging effectiveness) สำหรับช่วง in-sample และ out-of-sample ในรูปแบบของความสามารถในการลดความแปรปรวนของพอร์ตที่มากที่สุด เพื่อหาแบบจำลองที่เหมาะสมสำหรับกรณีศึกษาสัญญายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าฟิวเจอร์สสามารถใช้ป้องกันความเสี่ยงได้จริง และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างแบบจำลองที่ให้ค่า Hedge ratio คงที่ แบบจำลอง VECM จะมีประสิทธิผลสามารถลดความแปรปรวนของพอร์ตได้มากกว่าแบบจำลอง VAR และแบบจำลอง OLS ตามลำดับทั้งในกรณี in-sample และ out-of-sample ขณะที่แบบจำลอง Bi-GARCH ที่ให้ค่าอัตราป้องกันความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไปตามเวลากลับมีประสิทธิผลน้อยที่สุดในส่วนใหญ่

Downloads

How to Cite

[1]
โชตินุชิตตระกูล ว., “การประมาณค่าและประสิทธิผลของอัตราป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะสม กรณีศึกษาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย”, TJOR, vol. 1, no. 1, pp. 16–24, Sep. 2014.

Issue

Section

Research Paper (3 ผู้ประเมิน ตามเกณฑ์การขอตำแหน่งวิชาการ)