นโยบายการโยกย้ายสินค้าที่ช่วยลดการเสียโอกาสในการขาย ในธุรกิจขายปลีกที่มีร้านหลายสาขา
คำสำคัญ:
การโยกย้ายสินค้า, แบบจาลองสถานการณ์บทคัดย่อ
เป็นปกติที่ธุรกิจร้านค้าปลีกจะมีหลายสาขาเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้บริการให้กับลูกค้า เมื่อสาขาใดสาขาหนึ่งขาดแคลนสินค้า เจ้าของธุรกิจอาจมีนโยบายให้โยกย้ายสินค้าจากสาขาอื่นมายังสาขาที่ขาดแคลน เพราะการสั่งซื้อสินค้าใหม่จากซัพพลายเออร์อาจใช้เวลานานมากกว่าการโยกสินค้ามาจากสาขาอื่น หากไม่มีการโยกย้ายสินค้า ธุรกิจจะสูญเสียโอกาสในการขายให้กับลูกค้าที่ไม่สามารถรอได้นาน ที่ผ่านมามีงานวิจัยของ Hochmuth และ Kochel [1] ที่ศึกษาถึงนโยบายการโยกย้ายที่เหมาะสมระหว่างสาขาของธุรกิจขายปลีกด้วยเทคนิคการจาลองสถานการณ์ ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาต่อยอดจากงานวิจัยของ Hochmuth และ Kochel [1] โดยได้เพิ่มเติมการพิจารณาถึงพื้นที่จัดเก็บสินค้าในแต่ละสาขาที่มีอยู่จากัด และศึกษาหานโยบายการโยกย้ายที่สามารถช่วยลดการเสียโอกาสในการขายภายใต้สถานการณ์ที่มีระยะเวลารอคอยสินค้าที่สั่งซื้อจากซัพพลายเออร์เปลี่ยนแปลงไป ผลการจาลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม Arena พบว่า นโยบายที่ยอมให้มีการโยกย้ายสินค้าจากทุกสาขาไปยังทุกสาขาจะช่วยลดการเสียโอกาสในการขายได้มาก ในสถานการณ์ที่ระยะเวลารอคอยสินค้ามีค่าน้อย (short lead time) นโยบายที่ยอมให้มีการโยกย้ายสินค้าจากทุกสาขาไปยังทุกสาขาจะมีประสิทธิภาพในการลดการเสียโอกาสในการขายมากกว่าในสถานการณ์ที่ระยะเวลารอคอยสินค้ามีค่ามาก (long lead time)
References
[2] Liu, H., 2016, “Simulation of lateral transshipment in order to delivery under e-commerce environment”, International Journal of Simulation and Process Modelling, Vol. 11, No. 1, pp. 51-65.
[3] วิทยา สุหฤทดารง, 2546, ลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน อธิบายได้ ง่ายนิดเดียว, ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ, หน้า 1-10.
[4] แก้วปั้น อมตเวทย์, 2548, การพัฒนาวิธีการสั่งร่วมกรณีอุปสงค์ไม่คงที่และมีข้อจำกัดด้านงบประมาณและทรัพยากร, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.