การจัดตารางการผลิตเครื่องจักรขนานในกระบวนการทดสอบวงจรรวม

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ วงศ์เครือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วรวุฒิ หวังวัชรกุล ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดตารางการผลิต, เครื่องจักรขนาน, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, ฮิวริสติกส์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดตารางการผลิตสำหรับกระบวนการผลิตของเครื่องจักรแบบขนาน เพื่อปรับลดจำนวนเครื่องจักรที่ใช้งานให้เหมาะสม และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอัตราการใช้เครื่องจักร (Machine Utilization) ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการจัดตารางการผลิตจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) โดยการใช้โปรแกรม Solver ใน Microsoft Excel เพื่อหาคำตอบที่เหมาะสม และวิธีการจัดตารางการผลิตแบบฮิวริสติกส์ผสมผสาน (Hybrid Heuristic) ด้วยหลักการ Earliest Due Date (EDD) และ Longest Processing Time (LPT) เพื่อเปรียบเทียบกับวิธีการจัดตารางการผลิตแบบปัจจุบัน ซึ่งวัตถุประสงค์คือ การลดเวลาแล้วเสร็จรวมของงานล่าช้าทั้งหมด (Total Tardiness) ลดเวลาเสร็จรวมของงานที่เสร็จก่อนกำหนด (Total Earliness) และการลดประสิทธิทางด้านต้นทุนรวมของระบบ (Total Cost System) ผลการวิจัยจากการเปรียบเทียบด้วยจำนวนงานทั้งหมด 575 งาน ในการจัดตารางการผลิต 4 สัปดาห์ คำตอบที่ได้จากวิธีการจัดตารางการผลิตจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ให้คำตอบได้ดีที่สุด ในระยะเวลาการประมวลผลที่สั้นกว่าแบบฮิวริสติกส์ผสมผสาน และวิธีการจัดตารางการผลิตจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการลดต้นทุนโดยรวมของระบบเฉลี่ยลดลง 13.43 เปอร์เซ็นต์ เวลารวมที่งานเสร็จล่าช้ากว่ากำหนดลดลง 47.24 เปอร์เซ็นต์ และเวลารวมที่งานเสร็จก่อนกำหนดลดลง 73 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการปัจจุบัน

References

[1] นภาแพรว นิติวรางกูร, “การจัดตารางการผลิจที่มีหลายขั้นตอนการดำเนินงานบนชุดเครื่องจักรขนานที่เหมือนกัน กรณีศึกษา: โรงงานผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์,” สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิศวกรร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2559.
[2] พงษ์ธาดา คุรุกิจกำจร, “การเปรียบเทียบการจัดตารางการผลิตเครื่องจักรแบบขนานที่ไม่สัมพันธ์กันโดยใช้โปรแกรมการจัดการผลิต และการใช้แบบจำลองมอบหมายงาน,” สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร , นครปฐม, 2556.
[3] ยอดดวงใจ นาคปฐม, “การจัดตารางการผลิตแบบตามสั่ง สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ,” วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร , นครปฐม, 2555.
[4] อณจ ชัยมณี, “การจัดตารางการผลิตแบบไหลเลื่อนโดยมีกำหนดส่งงานเป็นช่วงเวลาภายใต้นโยบายการผลิตแบบทันเวลาพอดี,” วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2560.
[5] Chen, J.F, “Scheduling on unrelated parallel machines with sequence- and machine-dependent setup times and due-date constraints,” The International Journal of Advanced Manufacturing Technology, vol. 44, pp. 1204–1212, 2009.
[6] Dong-Won Kim, Dong-Gil Na and F. Frank Chen, “Unrelated parallel machine scheduling with setup times and a total weighted tardiness objective,” Robotics and Computer Integrated Manufacturing, vol. 19, pp. 173–181, 2003.
[7] L. sufen, Z. yunlong and L. xiaoying, “Earliness/Tardiness Flow-shop scheduling under uncertainty,” 17th IEEE International Conference on Tools with Artificial Intelligence, ICTAI 2005, Hong Kong - China, 14-16 Nov. 2005, pp. 415-422.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-15

How to Cite

[1]
วงศ์เครือ ธ. และ หวังวัชรกุล ว. ., “การจัดตารางการผลิตเครื่องจักรขนานในกระบวนการทดสอบวงจรรวม”, TJOR, ปี 9, ฉบับที่ 1, น. 153–162, มิ.ย. 2021.