การจัดตารางการผลิตโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์: กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
Keywords:
job shop scheduling, heuristics, mathematical modelAbstract
งานวิจัยนี้ได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการวางแผนการผลิต โดยเฉพาะการจัดลำดับการผลิตประจำวันของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันการจัดลำดับการผลิตจะดำเนินการโดยอาศัยความชำนาญของผู้วางแผนการผลิต ซึ่งก่อให้เกิดระยะเวลารอคอยในกระบวนการมากและในบางครั้งก็เกิดความผิดพลาดในการจัดลำดับการผลิต ทำให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อการจัดส่งสินค้า ผู้วิจัยจึงเลือกที่จะนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการจัดลำดับงาน (Job shop scheduling) ไปใช้เพื่อช่วยตัดสินใจ โดยใช้ Solver ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภท Add-in ในโปรแกรม Microsoft excel เพื่อทำการเขียนโปรแกรมโดยนำเอาข้อมูลต่างๆ เช่น ความสามารถในการผลิตของเครื่องจักร (Machine capacity) และข้อจำกัดต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ (Constraints) เป็นต้น มาทำการวิเคราะห์เพื่อให้สามารถทำการวางแผนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและใช้เวลาในการทำงานต่ำที่สุด ซึ่งผลการศึกษาโดยการเปรียบเทียบวิธีการจัดลำดับการผลิตในปัจจุบันด้วยวิธีฮิวริสติก (Heuristics) และวิธีการจัดลำดับการผลิตด้วยการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์พบว่า สามารถลดเวลาในการผลิตในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 ได้ 73.99 ชั่วโมงหรือประมาณ 3 วันหรือคิดเป็นร้อยละ 11.32 และสามารถลดเวลาในการผลิตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 ได้ 21.72 ชั่วโมงหรือประมาณ 1 วันหรือคิดเป็นร้อยละ 2.83