Application of Analytical Hierarchy Process to New Office Location Selection: A Case Study of Maintenance Service Company for Petrochemical Industry
Keywords:
location selection, analytical hierarchy process, Multi-Criteria Decision MakingAbstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งสำนักงานโรงงานแห่งใหม่ของบริษัท ABC ในจังหวัดระยอง โดยเป็นการประยุกต์ ใช้เทคนิคกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process : AHP) มาใช้ในการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ แบ่งเป็นปัจจัยหลักจำนวน 5 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านที่ดิน ปัจจัยด้านความพร้อมของพื้นที่ ปัจจัยด้านลูกค้า ปัจจัยด้านการคมนาคม และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนปัจจัยย่อยมีจำนวน 15 ปัจจัย และทำการวิเคราะห์หาค่าน้ำหนักและจัดลำดับความสำคัญปัจจัยหลักและปัจจัยย่อยที่มีผลต่อการตัดสินใจเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับทำเลที่ตั้งทางเลือกจำนวน 3 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านลูกค้ามีความสำคัญมากที่สุด (40%) รองลงมาเป็นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (26%) ปัจจัยด้านความพร้อมพื้นที่ (18%) ปัจจัยด้านที่ดิน (10%) ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสำคัญน้อยที่สุดคือปัจจัยด้านการคมนาคม (6%) สำหรับปัจจัยย่อยที่มีความสำคัญมากที่สุด 5 อันดับแรกประกอบด้วย ปัจจัยจำนวนลูกค้าในพื้นที่ (25.60%) รองลงมาเป็นปัจจัยการตอบสนองต่อลูกค้า (14.40%) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม (9.10%) ปัจจัยทัศนคติของชุมชน (8.64%) ปัจจัยระบบสาธารณูปโภค (7.92%) ตามลำดับ ส่วนทำเลที่ตั้งทางเลือกที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (45.40%) รองลงมาเป็นนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ระยอง (31.48%) และลำดับสุดท้ายนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) (23.12%)
References
ประสงค์ ปราณีตพลกรัง, การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ, กรุงเทพมหานคร: Diamond in Business World, 2547.
อรทัย วานิชดี, ธุรกิจทั่วไป, กรุงเทพมหานคร: ประสานมิตร, 2545.
ขจรศักดิ์ ไชยวงค์, “แนวทางการเลือกทำเลที่ตั้งสาขาของศูนย์การค้ามหสรรพสินค้า,” วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.
กันต์ธมน สุขกระจ่าง, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจในการเลือกทำเลที่ตั้งของร้านขายแก๊ส โดยวิธี AHP,” วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง., ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, น. 1-11, 2560.
กันต์ธมน สุขกระจ่าง, “การเลือกทำเลที่ตั้งของบริษัทขายอะไหล่รถยนต์โดยวิธี AHP: บริษัท ABC จำกัด,” วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ., ปีที่ 9, ฉบับที่ 1, น. 1421-1428, 2561.
ปริฉัตร วงศ์ปัจฉิม, “ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งตามความคิดเห็นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางในจังหวัดหนองคาย,” วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม., ปีที่ 7, ฉบับที่ 2, น. 10-18, 2560.
รุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์ และกฤช จรินโท, “ปัจจัยที่ใช้ในการวางแผนองค์การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้านการเลือกทำเลที่ตั้งหมู่บ้านจัดสรรยุคใหม่,” วารสารปัญญาภิวัฒน์., ปีที่ 8, ฉบับที่ 2, น. 1-10, 2559.
ธนวัฒน์ เมธีธัญญรัตน์, “การเลือกที่ตั้งคลังน้ำมันในประเทศไทยโดยใช้วิธีลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์,” วิศวสารลาดกระบัง., ปีที่ 32, ฉบับที่ 3, น. 37-42, 2558.
จุฑามาศ อินทร์แก้ว, “การวิเคราะห์ปัจจัยการเลือกทำเลที่ตั้งสาขา กรณีศึกษา หจก. เอสเอส ค้าไม้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี,” บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2556.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล, ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์, อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์, 2554.
วิฑูรย์ ตันศิริคงคล, AHP การตัดสินใจขั้นสูงเพื่อความ ก้าวหน้าขององค์กรและความอยู่ดีมีสุขของมหาชน, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2557.
สุธรรม อรุณ, “การตัดสินใจโดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analysis Hierarchy Process: AHP),” Process Management., ปีที่ 64, ฉบับที่ 1, น. 83-89, 2549.
สถาพร โอภาสานนท์, การตัดสินใจแบบพิจารณาหลายเกณฑ์สำหรับธุรกิจและการจัดการโลจิสติกส์: ทฤษฏีและการปฏิบัติ, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.