การวางแผนนโยบายสินค้าจากค่าการพยากรณ์ความต้องการยาด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุคูณซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงตัวเลขและตัวแปรเชิงกลุ่ม

ผู้แต่ง

  • Tapmanee Tapabut -

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ, ตัวแบบสินค้าคงคลัง, การพยากรณ์ความต้องการยา

บทคัดย่อ

กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ปริมาณความต้องการยารายการใหม่ (generic) และยาเดิม (original) ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบ และนำค่าพยากรณ์ที่ได้ไปสร้างนโยบายจัดการสินค้าคงคลัง ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง  ในการวางแผนนโยบายสินค้าคงคลัง มีความไม่แน่นอนทั้งปริมาณความต้องการและระยะเวลาจัดส่งสินค้า (lead time)  ผู้วิจัยพิจารณาตัวแบบสินค้าคงคลังสามตัวแบบ ตัวแบบ 1 และตัวแบบ 2 สมมติให้ปริมาณความต้องการกระจายตัวแบบปกติแต่มีแนวคิดการคำนวณระดับสั่งถึง (order-up-to level) และจุดสั่งซื้อ (reorder point) ที่แตกต่างกัน  ส่วนตัวแบบ 3 ไม่ได้ใช้ข้อสมมติของการกระจายตัวปกติแต่ใช้ฟังก์ชันการกระจายเชิงประจักษ์ (empirical distribution function) ของระยะเวลาจัดส่งสินค้าและหาการกระจายตัวที่เหมาะสม (fitting distribution) ของความต้องการยาด้วยโปรแกรม R Studio สำหรับยารายการใหม่ใช้การพยากรณ์ใช้ตัวแบบการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression model)  ตัวแปรอิสระมีทั้งตัวแปรเชิงตัวเลข (numerical variable) เช่น ราคาขาย  และตัวแปรเชิงกลุ่ม (categorical variable) เช่น กลุ่มแพทย์ที่สั่งใช้ยา แผนกที่มีการใช้ยา การจัดประเภทกลุ่มยาในโรงพยาบาลและบริษัทผู้จำหน่าย    หลังจากที่ได้ทดลองนโยบายการจัดการคลังสินค้ากับข้อมูลความต้องการใช้ยาจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 6 เดือน พบว่า ค่าระดับการให้บริการ (cycle service level (CSL)) มากกว่า 99% สำหรับยาใหม่ 8 ใน 10 รายการ ค่าใช้จ่ายในการจัดการคลังสินค้าลดลงได้เฉลี่ย 60% เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายจากนโยบายเดิม  นอกจากนี้ยังได้ศึกษารูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมเพื่อสร้างนโยบายการจัดการคลังสินค้ากับรายการยาเดิม  ที่คาดว่าความต้องการจะเปลี่ยนแปลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากยารายการใหม่ นอกเหนือไปจากตัวแบบถดถอยในตอนต้น  วิธีการพยากรณ์อนุกรมเวลาสามารถใช้กับยาเดิมซึ่งมีข้อมูลในอดีต ในกรณีศึกษานี้ ผู้วิจัยได้ใช้ตัวแบบ innovations state space สำหรับ exponential smoothing (ETS)  ตัวแบบ autoregressive integrated moving average (ARIMA) และ ตัวแบบ neural network autoregression (NNAR) หลังจากที่ได้ทดลองนโยบายการจัดการคลังสินค้ากับข้อมูลความต้องการใช้ยาจริงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 6 เดือน พบว่า ค่าระดับการให้บริการมากกว่า 99% สำหรับยาเดิม 9 ใน 10 รายการ ค่าใช้จ่ายในการจัดการคลังสินค้าลดลงได้เฉลี่ย 47% เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายจากนโยบายเดิม

References

J.E. Hanke and D.W. Wichern, “Multiple Regression Analysis,” in Business Forecasting, 8th ed. New Jersey, Pearson Education, Inc, 2005.

R.J. Hyndman, and G. Athanasopoukos. (2021, March 1). OText [Online]. Available: http: //otexts.com/fpp2

M.A. Waller and T.L. Esper, “Types of Inventory.” The Definitive Guide to Inventory Management: Principles and Strategies for the Efficient Flow of Inventory across the Supply Chain. Council of Supply Chain Management Professionals (CSCMP), Upper Saddle River, 2014, pp. 9-21.

อนุพงษ์ พึ่งศักดิ์, “ความถูกต้องและประสิทธิผลของการพยากรณ์อุปสงค์สำหรับการบริหารคลังยา,” เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทางเภสัชกรรม, มหาวิทยาลัยศิลกากร, นครปฐม, 2558.

พนิดา ยืนยงสวัสดิ์ และพยุง มีสัจ, “การพยากรณ์ปริมาณการใช้ยาในโรงพยาบาลโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม,” วารสารเทนโนโลยีสารสนเทศ., ปีที่ 2, ฉบับที่ 3, น. 19-27, 2549.

จันทร์เพ็ญ อนุรัตนานนท์, ประจวบ กล่อมจิตร, พัทธ์ธีรา พรมทอง และรจเรข เลขกูล, “การจัดตารางการสั่งซื้อยาในโรงพยาบาลรัฐ กรณีศึกษาโรงพยาบาลสิรินธร,” วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหรรมไทย, ปีที่ 6, ฉบับที่ 2, น. 8-19, 2563.

ลดารวี คุณอมรเลิศ, “การพัฒนาต้นแบบการจัดการคลังยาที่เหมาะสมสำหรับระดับการให้บริการของโรงพยาบาล,” วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา, 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-18

How to Cite

[1]
T. Tapabut, “การวางแผนนโยบายสินค้าจากค่าการพยากรณ์ความต้องการยาด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุคูณซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงตัวเลขและตัวแปรเชิงกลุ่ม”, TJOR, ปี 10, ฉบับที่ 1, น. 52–63, มิ.ย. 2022.